วันพุธที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2554

น้ำจะลดหรือไม่?


กทม.มั่นใจอุโมงค์ยักษ์ป้องกันน้ำท่วมกรุง



 กทม.มั่นใจอุโมงค์ยักษ์ป้องกันน้ำท่วมกรุง (ไอเอ็นเอ็น)

          ผอ.สำนักการระบายน้ำ กทม. เผย มั่นใจ อุโมงค์ยักษ์ พระรามเก้า ป้องกันน้ำท่วม กทม.ได้แน่

          นายสัญญา ชีนีมิตร ผู้อำนวยการสำนักการระบายน้ำกรุงเทพมหานคร เปิดเผยว่า ได้รับการประสานจากกรมชลประทานในการเร่งระบายน้ำเหนือ ลงมายังพื้นที่ กทม.ฝั่งตะวันออก โดยปริมาณน้ำจะเข้าระบบไหลผ่าน เข้ามายัง คลองประเวศ คลองแสนแสบ และคลองลำบึงขวาง ผ่านอุโมงค์ยักษ์ พระรามเก้า-รามคำแหง ส่วนพื้นที่ชั้นในของ กทม. น้ำจะไหลผ่านคลองผดุงกรุงเกษม ขณะที่ กทม.ฝั่งตะวันตก จะผ่านคลองทวีวัฒนา เพื่อเร่งระบายออกสู่แม่น้ำเจ้าพระยา ทั้งนี้ กทม.พร้อมจะช่วยเร่งระบายน้ำออกสู่แม่น้ำเจ้าพระยา โดยเร็วที่สุด โดย สถานีสูบน้ำพระโขนง ได้เร่งสูบน้ำออกอย่างเต็มที่ในปริมาณ 20 - 30 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อวัน จากเดิมที่ระบายน้ำ 10 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อวัน ซึ่งช่วยระบายน้ำ ประมาณ 80 - 90 เปอร์เซ็นต์ จากปริมาณน้ำที่ผ่าน กทม.แต่ละวัน

          นายสัญญา กล่าวต่อว่า ที่สำคัญ กทม. ยังมีอุโมงค์ยักษ์ระบายน้ำ ที่ได้เตรียมความพร้อมไว้แล้ว โดยเฉพาะที่ อุโมงค์ยักษ์พระรามเก้า-รามคำแหง ซึ่งมีการจัดเตรียมเจ้าหน้าที่และอุปกรณ์เพื่อรองรับสถานการณ์ฉุกเฉินที่อาจจะเกิดขึ้น แต่หากมีปริมาณฝนตกลงมาเพิ่มเติม กทม.จะมีการประเมินสถานการณ์ เพื่อเพิ่มศักยภาพในการเร่งระบายน้ำให้มากขึ้น ทั้งนี้ กทม.ได้ทำทุกอย่างดีที่สุดแล้ว ในการเร่งระบายน้ำ และไม่ได้นิ่งนอนใจ เพราะ กทม. มีอุโมงค์ยักษ์พระรามเก้า-รามคำแหง ช่วยเร่งระบายน้ำได้เป็นอย่างดี



 ระดับเจ้าพระยาสูงขึ้นทำเกาะเกร็ดท่วม  

          ระดับน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยา พื้นที่ จ. นนทบุรี เพิ่มสูง ส่งผลให้ สวนทุเรียนพันธุ์ก้านยาว ราคาลูกละ 6-7 พันบาท จมบาดาล สูญกว่า 2 ล้านบาท

          ผู้สื่อข่าวนนทบุรี ได้รับแจ้งว่า ระดับ น้ำในแม่น้ำเจ้าพระยา ได้ท่วมสูงกว่าทุกวันที่ผ่านมา จนชาวบ้านที่อาศัยอยู่ในเกาะเกร็ดต่างได้รับความเดือนร้อน อีกทั้งสวนทุเรียนและสวนผลไม้ต่าง ๆ ล้วนถูกน้ำท่วมจนยืนเฉาตายคาต้น โดยเฉพาะที่สวนของนายฉโลม โคมคาย อายุ 66 ปี อยู่บ้านเลขที 57 ม.4 ต.เกราะเกร็ด โดยนายฉโลม ใช้เนื้อที่จำนวน 5 ไร่ ปลูกทุเรียน มะปราง มังคุดมะพร้าว ซึ่งไม้ผลต่าง ๆ ล้วนได้รับความเสียหาย ยืนเฉาตายคาต้นทาง

          ด้านนายฉโลม กล่าวกับผู้สื่อข่าวว่า ต้นเองยึดอาชีพทำสวนมานาน ในปีนี้ถือว่าระดับน้ำท่วมสูงเกินกว่าที่จะต้านทานไหว ทั้งที่ได้นำกระสอบทราย เครื่องสูบน้ำมาทำการสูบน้ำออกทุกวัน แต่ก็ไม่สามารถสู้กับระดับน้ำที่ท่วมสูงขึ้นทุกวัน ทำให้ทะเรียนจำนวน 170 ต้น และผลไม้อื่น ๆ ล้มตายหมด ทำให้ต้นเองต้องสูนเสียรายได้กว่า 2 ล้านบาท "ที่ น่าเสียดาย คือ ทุเรียนพันก้านยาวแท้ ๆ ของจังหวัดนนทบุรี ซึ่งมีราคาลูกละ 6-7 พันบาท ต่างก็ต้องมาได้รับความเสียหายล้มตายไปในครั้งนี้ด้วย อยากให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ยื่นมือเข้ามาช่วยเหลือเกษตรชาวสวนในครั้งนี้ด้วย"



น้ำท่วมกรุงเทพ



  15 จุดเสี่ยงน้ำท่วม กทม. 

          15 จุดเสี่ยง กทม. เตรียมสั่งซื้อกระสอบทราย 1.5 แสน เพื่อป้องกันพื้นที่เสี่ยงน้ำท่วม

          สำหรับจุดเสี่ยงภายในกรุงเทพมหานคร ที่เสี่ยงน้ำท่วมประกอบด้วย

          1. เขตสาทร ย่านถนนจันทน์ เซนต์หลุยส์ สาธุประดิษฐ์

          2. เขตพญาไท ถนนพหลโยธิน ช่วงคลองสามเสน-คลองบางซื่อ

          3. เขตพระโขนง ถนนสุขุมวิท จากคลองพระโขนง-ซอยลาซาล

          4. เขตวัฒนา ซอยสุขุมวิท 39 และสุขุมวิท 49

          5. เขตวังทองหลาง ถนนลาดพร้าว จากคลองลาดพร้าว-ห้างเดอะมอลล์

          6. เขตบึงกุ่ม ถนนนวมินทร์ จากคลองดอนอีกา-แยกถนนประเสริฐมนูกิจ ทั้งสองฝั่ง

          7. เขตดินแดง ถนนรัชดาภิเษก หน้าห้างโรบินสัน

          8. เขตจตุจักร ถนนรัชดาภิเษก แยกลาดพร้าว

          9. เขตราชเทวี ถนนเพชรบุรี จากถนนบรรทัดทอง-แยกราชเทวี

          10. เขตราชเทวี ถนนนิคมมักกะสัน

          11. เขตราชเทวี ถนนพระรามที่ 6 หน้าตลาดประแจจีน

          12. เขตบางแค ถนนเพชรเกษม ซอย 63 (ซอยวัดม่วง)

          13. เขตยานนาวา ถนนเย็นอากาศ จากถนนนางลิ้นจี่- ซอยศรีบำเพ็ญ

          14. เขตประเวศ ถนนศรีนครินทร์ ช่วงคลองตาสาด-คลองตาช้าง

          15. เขตพระนคร ถนนสนามไชย และถนนมหาราช

          โดยเบื้องต้น ทางสำนักการระบายน้ำ กทม.เตรียมรับมือเต็มที่ เฝ้าระวังสถานการณ์น้ำตลอด 24 ชั่วโมง ล่าสุดซื้อกระสอบทรายเพิ่มอีก 1.5 ล้านถุง เพราะทุกเขตขอเข้ามานอกจากนี้ยังได้ขุดลอกคลองให้ระบายน้ำ ได้เร็วขึ้น ดูแลประตูระบายน้ำ เครื่องสูบน้ำ สถานีสูบน้ำ รวมถึงประสานงานกับกรมชลประทานช่วยบริหารจัดการน้ำผ่านคลองและอุโมงค์ลงสู่ ทะเล




      
http://hilight.kapook.com/view/52961
ที่มา  

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น