สารประกอบของคาร์บอน
สารประกอบของคาร์บอนเป็นสารเคมีที่น่าสนใจมากที่สุดอย่างหนึ่ง เนื่องจากมีส่วนเกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันค่อนข้างมาก สิ่งต่าง ๆ ที่อยู่รอบ ๆ ตัวจะเกี่ยวข้องกับสารประกอบของคาร์บอนเป็นส่วนใหญ่ เช่น อาหารพวกโปรตีน คาร์โบไฮเดรตและไขมัน เครื่องนุ่งห่มพวกใยสังเคราะห์ และใยธรรมชาติ ยารักษาโรค เครื่องใช้ต่าง ๆ ที่ทำจากพลาสติก ผงซักฟอก น้ำมัน น้ำหอม และกระดาษ เป็นต้น
นอกจากนี้สารประกอบของคาร์บอนยังมีส่วนเกี่ยวข้องโดยตรงกับชีวิต โดยเป็นส่วนประกอบของเซลล์ในสิ่งมีชีวิต กล่าวได้ว่าสารประกอบของคาร์บอนส่วนใหญ่เกิดจากสิ่งมีชีวิต กระบวนการเปลี่ยนต่าง ๆ ที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตก็เกิดจากการเปลี่ยนแปลงทางเคมีของสารประกอบของคาร์บอน เช่นเดียวกัน การเรียนรู้เกี่ยวกับสารประกอบของคาร์บอนจึงเป็นสิ่งจำเป็น
ธาตุคาร์บอน
เพื่อให้เข้าใจเกี่ยวกับสารประกอบของคาร์บอน จึงควรทำความเข้าใจเกี่ยวกับธาตุคาร์บอนก่อนดังนี้
คาร์บอนเป็นธาตุที่มีอยู่ในโลกค่อนข้างมากทั้งในรูปของธาตุอิสระและสารประกอบ ในตรารงธาตุจัดไว้เป็นธาตุหมู่ที่ IV คาบที่ 2 มีเลขอะตอม 6 โดยมีการจัดเรียงอิเล็กตรอนเป็น 1s2 2s2 2p2 หรือ 2 , 4 มีไอโซโทปที่สำคัญ 3 ชนิดคือ 12C , 13C, และ 14C โดยมีมวลอะตอมเฉลี่ยเป็น 12.011
สมบัติทั่ว ๆ ไปของคาร์บอนได้แก่
· มีจุดหลอมเหลว 3730 0C และจุดเดือด 4830 0C (ในเพชร)
· เป็นของแข็ง มีความหนาแน่น 3.51 g/cm3 ในเพชร และ 2.26 g/cm3 ในแกรไฟต์
· มีรัศมีอะตอม 0.077 nm
· มีพลังงานไอออไนเซชันลำดับที่หนึ่ง (IE1) 1086 kJ/Mol
· มีอิเล็กโตรเนกาติวิตี 2.5
คาร์บอนที่อยู่ในภาวะอิสระตามธรมชาติมี 2 รูป คือ แกรไฟต์และเพชร
รูปแสดง โครงสร้างของแกรไฟต์และเพชร
คาร์บอนที่อยู่ในรูปของสารประกอบมีทั้งสารอินทรีย์และสารอนินทรีย์ เช่น น้ำมัน พลาสติก กระดาษ และหินปูน เป็นต้น
สารอินทรีย์และสารอนินทรีย์
โดยทั่ว ๆ ไปอาจจะแบ่งสารประกอบต่างๆ ได้เป็น 2 ประเภท คือสารอินทรีย์และสารอนินทรีย์
สารอินทรีย์ หมายถึง สารที่มีคาร์บอนเป็นองค์ประกอบหลัก และมีธาตุอื่น ๆ เป็นองค์ประกอบร่วม เช่น ธาตุ H , O, N, P, S, Cl, และ Br เป็นต้น ดังนั้นสารอินทรีย์ทุกชนิดจะต้องมีธาตุ C อยู่ด้วยเสมอ จึงกล่าวได้ว่าสารอินทรีย์ คือสารประกอบของคาร์บอน (ยกเว้นสารประกอบของคาร์บอนบางชนิดซึ่งจะกล่าวถึงรายละเอียดต่อไป)
เดิมนักเคมีเชื่อว่าสารอินทรีย์จะต้องเกิดจากสิ่งมีชีวิตเท่านั้น อาจจะเกิดอยู่ในธรรมชาติหรือสังเคราะห์จากสารอินทรีย์ด้วยกัน แต่จะสังเคราะห์จากสารอนินทรีย์ไม่ได้ จนกระทั่งประมาณปี ค.ศ. 1776 Carl Wilhelm Scheele นักวิทยาศาสตร์ชาวสวีเดนจึงสามารถวิเคราะห์สารอินทรีย์จากสารอนินทรีย์ได้โดยการเตรียมกรดออกซาลิกจากปฏิกิริยาระหว่างกรดไนตริกเข้มข้นกับน้ำตาลอ้อย แต่ก็ยังไม่เป็นที่ยอมรับกันมากนัก
น้ำตาลอ้อย + กรดไนตริก(เข้มข้น) ® กรดออกซาลิก
สารอนินทรีย์ สารอินทรีย์
ต่อมาในปี ค.ศ. 1828 ฟรีดริช เวอเลอร์ (Fridrich Wohler) นักเคมีชาวเยอรมันจึงสามารถเตรียมยูเรียซึ่งเป็นสารอินทรีย์ จากการเผาแอมโมเนียมไซยาเนต ซึ่งเป็นสารอนินทรีย์ได้ดังนี้
NH4CNO NH2 - CO - NH2
แอมโมเนียมไซยาเนต ยูเรีย
ยูเรีย เป็นสารอินทรีย์ซึ่งส่วนใหญ่พบในปัสสาวะของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ส่วนแอมโมเนียมไซยาเนตเป็นสารอนินทรีย์ที่มีคาร์บอนเป็นองค์ประกอบ
จากการที่เวอร์เลอร์ สามารถเตรียมยูเรียจากสารอนินทรีย์ได้ ทำให้เริ่มยอมรับกันว่าสารอินทรีย์สามารถสังเคราะห์จากสารอนินทรีย์ได้ ซึ่งหลังจากนั้นได้มีการสังเคราะห์สารอินทรีย์จากสารอนินทรีย์ในห้องปฏิบัติการได้เป็นจำนวนมาก นักเคมีจึงเชื่อว่าสารอินทรีย์นอกจากจะมีอยู่ในธรรมชาติ และในสิ่งมีชีวิตแล้ว ยังสามารถสังเคราะห์จากสารอนินทรีย์ซึ่งได้จากสิ่งไม่มีชีวิตด้วย สารอินทรีย์ทุกชนิดจะต้องมีธาตุคาร์บอนเป็นองค์ประกอบและถึงแม้ว่าสารอินทรีย์ไม่จำเป็นที่จะต้องได้จากสิ่งมีชีวิตแต่ส่วนใหญ่ก็ยังคงได้จากสิ่งมีชีวิต ปัจจุบันได้ค้นพบสารอินทรีย์แล้วมากกว่า 2 ล้านชนิด และในแต่ละวันยังมีการค้นพบสารใหม่อีกอย่างสม่ำเสมอ
สารอนินทรีย์ หมายถึง สารประกอบอื่น ๆ ที่ไม่ใช่สารอินทรีย์ สารอนินทรีย์ประกอบด้วยธาตุต่าง ๆ จำนวนมากเช่น S, O, Cl, Na, Mg, Al และ C เป็นต้น เช่น H2SO4 , NaCl , K2SO4.Al2(SO4)3.24H2O เป็นต้น
ตารางแสดง ข้อแตกต่างระหว่างสารอินทรีย์และสารอนินทรีย์
สมบัติ | สารอินทรีย์ | สารอนินทรีย์ |
1.ธาตุที่เป็นองค์ประกอบ | ส่วนใหญ่เป็นธาตุ C และ H ธาตุอื่น ๆ เช่น O, N, S, P, Cl, Brและ I มีเป็นส่วนน้อย | มีธาตุทุกชนิด |
2. ชนิดของพันธะเคมี | พันธะโคเวเลนต์ | มีทั้งพันธะโคเวเลนต์และพันธะไอออนิก (ส่วนมากเป็นพันธะไอออนิก) |
3. การละลายน้ำ | ส่วนมากไม่ละลายน้ำ ยกเว้นพวกโมเลกุลมีขั้วขนาดเล็ก ๆ เช่น แอลกอฮอล์ กรดอินทรีย์ | ส่วนมากละลายน้ำได้ดี |
4. การนำไฟฟ้าของสารละลาย (ในน้ำ) | ไม่นำไฟฟ้าหรือนำไฟฟ้าได้น้อยมาก | ส่วนใหญ่พวกที่ละลายน้ำจะนำไฟฟ้าไดดีโดยเฉพาะ สารไอออนิก |
5. การละลายในตัวทำละลายอินทรีย์ | ส่วนมากละลายได้ดี | ส่วนมากไม่ละลาย |
6. จุดหลอมเหลว - จุดเดือด | ส่วนมากค่อนข้างต่ำ | ส่วนมากค่อนข้างสูง |
7. การเผาไหม้ | ติดไฟง่าย อาจจะมีเขม่า | ติดไฟยาก ต้องใช้ความร้อนสูงมาก และ เมื่อติดไฟแล้วจะมีกากของแข็งเหลืออยู่ |
8. อัตราการเกิดปฏิกิริยา | เกิดค่อนข้างช้า | เกิดเร็ว |
9. ตัวเร่งปฏิกิริยา | ส่วนมากต้องใช้ | ส่วนมากไม่ต้องใช้ |
สารประกอบของคาร์บอน
หมายถึง สารที่มีธาตุคาร์บอน (C) เป็นองค์ประกอบอยู่ด้วยซึ่งอาจจะเป็นสารอินทรีย์หรือสารอนินทรีย์ก็ได้
ตัวอย่างที่เป็นสารอินทรีย์ เช่น พวกไฮโดรคาร์บอนในน้ำมันดิบ ก๊าซธรรมชาติและถ่านหิน แอลกอฮอล์ กรดอินทรีย์ เป็นต้น
ตัวอย่างที่เป็นสารอนินทรีย์ เช่น
¨ สารประกอบออกไซด์ CO2 , CO
¨ สารประกอบคาร์บอนเนตและไฮโดรเจนคาร์บอเนต เช่น CaCO3 ในหินปูน หินปะการัง หินอ่อน NaHCO3 (โซดาแอช) เป็นต้น
¨ สารประกอบซัลไฟด์ เช่น CS2
¨ สารประกอบไซยาไนด์ และไซยาเนต เช่น NaCN NH4CNO
¨ กรดคาร์บอนิก (H2CO3) เป็นต้น
การเกิดสารประกอบของธาตุคาร์บอน
เมื่อพิจารณาตำแหน่งของคาร์บอนในตารางธาตุ จะพบว่าเป็นธาตุในหมู่ 4A ดังนั้นจึงมีเวเลนต์อิเล็กตรอนเท่ากับ 4
จากความรู้ในเรื่องพันธะเคมีและค่าอิเล็กโตรเนกาติวิตีของคาร์บอนซึ่งค่อนข้างต่ำ ทำให้ทราบว่าคาร์บอนสามารถเกิดเป็นสารประกอบโคเวเลนต์ได้ โดยที่ธาตุคาร์บอนแต่ละอะตอมจะใช้อิเล็กตรอนร่วมกับอะตอมของธาตุอื่น ๆ อีก 4 อิเล็กตรอนเพื่อให้มีการจัดเรียงอิเล็กตรอนครบออกเตต ในทำนองเดียวกับโครงสร้างของธาตุเฉื่อย เช่น ถ้าใช้เวเลนต์อิเล็กตรอนร่วมกับไฮโดรเจน 4 อะตอมจะได้สารประกอบที่เรียกว่ามีเทน ดังนี้
นอกจากธาตุคาร์บอนจะเกิดพันธะกับธาตุอื่น ๆ แล้วยังสามารถเกิดพันธะกับธาตุคาร์บอนด้วยกันเองได้อีกด้วย เช่น
จำนวนคาร์บอนอะตอมที่จะมาต่อกันเองนั้นอาจจะน้อยเช่น 2 อะตอมในอีเทน หรืออาจจะมากกว่าก็ได้ และอาจจะต่อกันเป็นสายยาวหรือเป็นสายยาวมีสาขา หรือ เป็นวงแบบต่าง ๆ ก็ได้ การจัดเรียงตัวของคาร์บอนในรูปแบบต่าง ๆ จะทำให้เกิดโมเลกุลที่มีสมบัติเฉพาะตัวต่าง ๆ กันและถ้ามีธาตุอื่น ๆ เป็นองค์ประกอบด้วย เช่น O , Cl , S และ N เป็นต้น ก็จะยิ่งทำให้ได้โมเลกุลที่มีสมบัติเฉพาะตัวแตกต่างกันมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้พันธะระหว่างคาร์บอนอาจจะเป็นพันธะเดี่ยว คู่ หรือ พันธะสามก็ได้ ทำให้สารประกอบของคาร์บอนมีจำนวนมากมายดังที่กล่าวมาแล้ว
แหล่งกำเนิดของสารประกอบของคาร์บอนในธรรมชาติ
สารประกอบของคาร์บอนมีทั้งที่เกิดในธรรมชาติและที่สังเคราะห์ขึ้นมา แหล่งกำเนิดในธรรมชาติที่สำคัญได้แก่
* ถ่านหิน ซึ่งเชื่อกันว่าเกิดจากซากพืชและสัตว์ที่ตาบทับถมกันตั้งแต่สมัยดึกดำบรรพ์เป็นชั้น ๆ จนกลายเป็นถ่านหิน ถ่านหินโดยทั่ว ๆ ไปจะมีคาร์บอนเป็นองค์ประกอบประมาณ 50 - 95% ถ้าเผาถ่านหินให้ร้อนจัดในที่ไม่มีอากาศ ถ่านหินจะเกิดการสลายตัว พวกสารที่ระเหยได้ง่าย เช่น ก๊าซถ่านหินและน้ำมันดิบ (Coal tar) จะระเหยแยกออกไปเหลือสิ่งที่เรียกว่าถ่านโค๊ก (Coke) ซึ่งนำไปใช้กันมากในอุตสาหกรรม เช่น ใช้เป็นเชื้อเพลิงและ ใช้เป็นตัวรีดิวซ์
* ปิโตรเลียม เกิดจากสิ่งมีชีวิตที่ตายทับถมกันเช่นเดียวกับถ่านหิน ส่วนใหญ่จะเป็นพวกสารประกอบไฮโดรคาร์บอน มีทั้งส่วนที่เป็นของเหลวระเหยง่ายไปจนถึงของแข็งที่ระเหยยาก ส่วนใหญ่ใช้ประโยชน์เป็นเชื้อเพลิง
* ก๊าซธรรมชาติ เป็นสารประกอบไฮโดรคาร์บอนเช่นเดียวกับปิโตรเลียม และมักจะเกิดรวมกับปิโตรเลียม
การเขียนสูตรโครงสร้างในสารประกอบของคาร์บอน
สูตรโครงสร้าง คือ สูตรที่นอกจากจะแสดงจำนวนอะตอมของธาตุที่เป็นองค์ประกอบของสารแล้ว ยังแสดงลักษณะการจัดเรียงอะตอมของธาตุต่าง ๆ ในโมเลกุล ซึ่งทำให้ทราบว่ามีธาตุใดบ้าง อย่างละกี่อะตอม แต่ละอะตอมยึดเหนี่ยวกับอะตอมอื่น ๆ อย่างไร โดยทั่วไปสามารถเขียนสูตรโครงสร้างของสารประกอบคาร์บอนได้ 4 วิธีตามความเหมาะสมดังนี้
ก. สูตรโครงสร้างแบบเส้น (Extended structural formula)
วิธีนี้เป็นการเขียนสูตรที่แสดงรายละเอียดของชนิดของพันธะและตำแหน่งที่อยู่ในโมเลกุลทั้งหมด เหมาะสำหรับโมเลกุลที่มีขนาดเล็ก หรือโมเลกุลที่ไม่ซับซ้อนมากนัก เช่น
บิวทีน (C4H8) เขียนสูตรโครงสร้างแบบเส้นได้เป็น
เอทานอล (C2H5OH) เขียนสูตรโครงสร้างแบบเส้นได้เป็น
ข. สูตรโครงสร้างแบบย่อ (Condensed structural formula)
วิธีนี้เป็นการเขียนสัญลักษณ์ของ C ต่อเนื่องกันโดยไม่ต้องแสดงพันธะแบบเส้น (ยกเว้นพันธะคู่และพันธะสาม) อะตอมของธาตุอื่น ๆ ที่เกิดพันธะกับ C อะตอมใด ให้เขียนไว้ติดกับ C อะตอมนั้นโดยไม่ต้องแสดงพันธะ และถ้าโครงสร้างมีลักษณะซ้ำ ๆ กัน ให้ใช้วงเล็บแทนการเขียนทั้งหมดได้
เช่น โพรเพน (C3H8) เขียนเป็น CH3CH2CH3
บิวเทน (C4H10) เขียนเป็น CH3CH2CH2CH3 หรือ CH3(CH2)2CH3
ออกเทน (C8H18) เขียนเป็น CH3CH2CH2CH2CH2CH2CH2CH3
หรือ CH3(CH2)6CH3
บิวทีน (C4H8) เขียนเป็น CH2=CHCH2CH3
เอทานอล (C2H6O) เขียนเป็น CH3CH2OH
ค. สูตรโครงสร้างแบบย่อบางส่วน (Partially extended structural formula)
เป็นการเขียนสูตรโครงสร้างแบบย่ออีกประเภทหนึ่ง โดยผสมระหว่างแบบ ก. และ ข. เพื่อต้องการเน้นบางอย่างให้เด่นชัดขึ้น การเขียนสูตรประเภทนี้มักจะแสดงพันธะระหว่าง C กับ C สำหรับพันธะระหว่างC กับอะตอมอื่น ๆ จะแสดงหรือไม่ก็ได้ เช่น
บิวเทน (C4H10) เขียนเป็น CH3 - CH2 - CH2 - CH3
เอทานอล (C2H6O) เขียนเป็น CH3 - CH2 - OH หรือ C2H5 - OH
ง. Bond line convention
เหมาะสำหรับโมเลกุลใหญ่ ๆ ที่มีจำนวนอะตอมของคาร์บอนมาก ๆ ในสูตรโครงสร้างแบบนี้ไม่ต้องแสดงอะตอมของ C หรืออะตอมของ H ที่เกาะกับ C ให้ใช้เส้นตรงแทนโครงสร้างโดยตรง จุดตัดของเส้นตรงจะแสดงตำแหน่งของ C จุดปลายของโครงสร้างถ้าไม่มีอะตอมอื่นเขียนไว้แสดงว่าเป็นอะตอม C เช่น
จะเห็นได้ว่าสูตรโครงสร้างแบบต่าง ๆ ที่แสดงให้ดูนั้น อยู่ในลักษณะ 2 มิติ ซึ่งความจริงการจัดเรียงอะตอมของธาตุจะเป็นลักษณะ 3 มิติ เนื่องจากทิศทางการเกิดพันธะของคาร์บอนบังคับไว้ ทำให้ไม่ได้ต่อกันอยู่ในแนวเส้นตรง
พิจารณา ตัวอย่างการเขียนสูตรโครงสร้างแบบ 3 มิติต่อไปนี้
ก. มีเทน (CH4)
ข. อีเทน (C2H4 หรือ CH2 = CH2)
ค. อีไทน์หรืออเซทิลีน (C2H2 หรือ HCCH)
ง. บิวเทน (C4H10)
หมู่ฟังก์ชัน (Functional Group)
หมู่ฟังก์ชัน หมายถึง อะตอมหรือกลุ่มของอะตอมที่เข้าไปแทนที่ไฮโดรเจนอะตอมในสารประกอบไฮโดรคาร์บอน เช่น -OH, -COOH, -Cl หมู่ฟังก์ชันเป็นส่วนสำคัญของโมเลกุลซึ่งจะแสดงสมบัติเฉพาะตัวของโมเลกุลหรือของสารประกอบคาร์บอนนั้น และเป็นส่วนที่ทำให้สมบัติทางเคมีและทางกายภาพของสารแตกต่างกัน เช่น สารอินทรีย์บางชนิดมีสูตรโมเลกุลเหมือนกัน แต่มีหมู่ฟังก์ชันต่างกันก็ทำให้กลายเป็นสารต่างชนิดกัน การเกิดปฏิกิริยาเคมีของสารอินทรีย์มักจะเกิดปฏิกิริยาตรงส่วนที่เป็นหมู่ฟังก์ชัน โดยที่หมู่ฟังก์ชันชนิดซึ่งมีอยู่เดิมจะสลายตัวไปหรือกลายเป็นหมู่ฟังก์ชันใหม่ ทำให้ได้สารประกอบชนิดใหม่ที่มีสมบัติต่าง ๆ แตกต่างไปจากเดิม ดังนั้นหมู่ฟังก์ชันจึงเป็นเรื่องสำคัญอย่างหนึ่งของสารอินทรีย์
หมู่ฟังก์ชันที่สำคัญและควรจะรู้จักมีดังนี้
ตารางแสดง หมู่ฟังก์ชันบางชนิดและสารประกอบที่มีหมู่ฟังก์ชันเป็นองค์ประกอบ
ประเภท | หมู่ฟังก์ชัน | ตัวอย่างสารประกอบ | ||
ชื่อหมู่ฟังก์ชัน | สูตรโครงสร้าง | สูตรทั่วไป | ||
1. ไฮโดรคาร์บอน ก. อัลเคน ข. อัลคีน ค. อัลไคน์ ง. อะโรมาติก | พันธะเดี่ยว พันธะคู่ พันธะสาม วงเบนซีน | C - C C = C CC | R-CH2 - CH2-R R-CH = CH-R RCCR | H3C - CH3 (อีเทน) H2C = CH2 (เอทิลีน) HCCH (อะเซทิลีน) (เบนซีน) |
2. เฮไลด์ | เฮไลด์ | -X ( X = Cl, Br , I, ) | R’ - X | CH3 - Cl :เมทิลคลอไรด์ |
3. แอลกอฮอล์ | ไฮดรอกซิล | -OH | R - OH | CH3 - CH2 - OH เอทิลแอลกอฮอล์ |
4. อีเทอร์ | ออกซิ | - O - | R’ - O - R’ | CH3 -CH2- O -CH2-CH3 ไดเอทิลอีเทอร์ |
5. เอมีน | อะมิโน | - NH2 | R’ - NH2 | CH3 - NH2 เมทิลเอมีน |
6. อัลดีไฮด์ | คาร์บอกซาลดีไฮด์ | ฟอร์มาลดีไฮด์ | ||
7. คีโตน | คาร์บอนิล | อะซิโตน | ||
8. กรดอินทรีย์ | คาร์บอกซิล | กรดเอซิติก | ||
9. เอไมด์ | เอไมด์ | อะเซตาไมด์ | ||
10. เอสเทอร์ | แอลคอกซีคาร์บอนิล(คาร์บอกซิเลต) | เมทิลแอซิเตต | ||
11. ไนไตรต์ (ไซยาไนด์) | ไซยาไนด์ | - CN | R - CN | CH3-CN (อะซิโตไนไตรต์) |
( หมายเหตุ R = H หรือ CnH2n+1 และ R’ = CnH2n+1 เมื่อ n = 1, 2, 3, …)
การจำแนกประเภทของสารอินทรีย์
ในปัจจุบันมีสารอินทรีย์ที่พบแล้วมากกว่า 2 ล้านชนิด โดยทั่ว ๆ ไปแต่ละชนิดจะมีสมบัติเฉพาะตัวที่แตกต่างกัน บางชนิดแตกต่างกันในแง่ของสมบัติทางกายภาพ หรือสมบัติทางเคมี บางชนิดแตกต่างกันทั้งสมบัติทางกายภาพและสมบัติทางเคมี เพื่อความสะดวกแก่การศึกษาจึงได้นำสารอินทรีย์มาจำแนกเป็นหมวดหมู่ ซึ่งอาจจะทำได้หลายวิธีตามเกณฑ์ที่กำหนดขึ้น เช่น จำแนกเป็นหมวดหมู่โดยใช้หมู่ฟังก์ชันและใช้ลักษณะโครงสร้าง เป็นต้น
การจำแนกประเภทของสารอินทรีย์โดยใช้หมู่ฟังก์ชันเป็นเกณฑ์จะได้ดังแผนภาพต่อไปนี้
ไฮโดรคาร์บอน หมายถึง สารอินทรีย์ที่ประกอบด้วยคาร์บอนและไฮโดรเจนเท่านั้น
อะลิฟาติก (aliphatic) หมายถึง สารอินทรีย์ที่คาร์บอนไม่ได้ต่อกันเป็นวงหรือ เรียกว่าต่อกันแบบโซ่เปิด อาจเป็นโซ่ตรง หรือโซ่กิ่ง และมีได้ทั้งพันธะเดี่ยว พันธะคู่และพันธะสาม
อะลิไซคลิก (alicyclic) หมายถึงสารอินทรีย์ที่คาร์บอนต่อกันเป็นวง
อะโรมาติก (aromatic) หมายถึงสารอินทรีย์ที่มีคาร์บอนต่อกันเป็นวงโดยมีวงแหวนเบนซีนเป็นโครงสร้างหลัก เช่น โทลูอีน
อนุพันธ์ของไฮโดรคาร์บอน (derivative of hydrocarbon) หมายถึง สารประกอบที่เกิดจากอะตอมหรือกลุ่มอะตอมของธาตุ เข้าไปแทนที่ H ในสารประกอบไฮโดรคาร์บอน ได้แก่
แอลกอฮอล์ หมายถึง สารอินทรีย์ที่มีหมู่ -OH เกิดจาก H ในไฮโดรคาร์บอนถูกแทนที่ด้วย -OH เช่น CH3-OH
ฟีนอล หมายถึง สารประกอบอะโรมาติกที่มีหมู่ -OH ต่ออยู่กับ C ในวงแหวนเบนซีน เช่น C6H5-OH
อีเทอร์ หมายถึงสารอินทรีย์ที่มีโครงสร้าง R - C - O - C - R อาจเป็นสารอะลิฟาติกหรืออโรมาติกก็ได้ เช่น CH3 - O - CH3
แอดีไฮด์ หมายถึง สารอินทรีย์ที่มีสูตรโครงสร้าง -CHO อยู่ในโมเลกุล เช่น CH3-CHO , H-CHO เป็นต้น
กรดอินทรีย์ หมายถึง สารอินทรีย์ที่มีหมู่ -COOH อยู่ในโมเลกุล เช่น H-COOH , CH3-COOH
เอสเทอร์ หมายถึง สารอินทรีย์ที่มีสูตรโครงสร้างเป็น RCOOR’ เช่น CH3COOCH3 , CH3COOC2H5 เป็นต้น
เอมีน หมายถึง สารอินทรีย์ที่มีหมู่ -NH2 อยู่ในโมเลกุล เช่น CH3 - NH2 , C2H5 - NH2
เอไมด์ หมายถึง สารอินทรีย์ที่มีหมู่ -CO.NH2 อยู่ในโมเลกุล เช่น H - CONH2 , CH3-CONH2
แฮไลด์ หมายถึง สารอินทรีย์ที่มีเฮโลเจนอยู่ในโมเลกุล เช่น CH3-I , C2H5Cl
การจำแนกสารอินทรีย์นอกจากจะใช้หมู่ฟังก์ชันเป็นเกณฑ์แล้ว ยังอาจใช้เกณฑ์อย่างอื่นได้ เช่น ใช้ลักษณะของโครงสร้างโมเลกุลเป็นเกณฑ์ดังนี้
โฮโมไซคลิก (Homocyclic) หมายถึง สารอินทรีย์ที่คาร์บอนทั้งหมดหรือบางส่วนต่อกันแบบวงโดยที่มนวงมีแต่คาร์บอนเท่านั้น
เฮเทอโรไซคลิก (Heterocyclic) หมายถึง สารอินทรีย์ที่คาร์บอนต่อกันแบบวง โดยมีอะตอมของธาตุอื่น เช่น O, N, S (เรียกว่า hetero atom) อยู่ในวงด้วย เช่น
การเรียกชื่อสารอินทรีย์
การเรียกชื่อสารอินทรีย์ในสมัยแรก ๆ ไม่มีกฎเกณฑ์ที่แน่นอน เนื่องจากมีสารที่พบไม่มากนักจึงมักจะเรียกชื่อตามที่นักเคมีคิดว่าเหมาะสม ซึ่งอาจจะเรียกชื่อตามสิ่งที่พบหรือตามสถานที่พบ ชื่อที่เรียกโดยไม่มีกฎเกณฑ์เหล่านี้ เรียกว่าชื่อสามัญ (common name) ต่อมาเมื่อมีการค้นพบสารอินทรีย์เพิ่มมากขึ้น การเรียกชื่อสามัญจึงเริ่มมีปัญหาเกิดขึ้นเนื่องจากชื่อสามัญส่วนมากจะไม่มีส่วนสัมพันธ์กับชนิดของสารหรือไม่มีส่วนสัมพันธ์กับสูตรโครงสร้าง ทำให้ยากแก่การจดจำว่าสารดังกล่าวนั้นเป็นสารประเภทใด มีสูตรโครงสร้างเป็นอย่างไร โดยเฉพาะสารที่มีสูตรโครงสร้างคล้าย ๆ กันหรือที่มีสูตรโครงสร้างซับซ้อนจะเรียกชื่อสามัญไม่ได้ นักเคมีจึงได้กำหนดกฎเกณฑ์ในการเรียกชื่อขึ้นใหม่ให้เป็นระบบเดียวกันว่า ระบบ IUPAC (International Union of Pure and Applied Chemistry) การเรียกชื่อในระบบ IUPAC นี้มีส่วนสัมพันธ์กับชนิดและสูตรโครงสร้างของสารจึงทำให้ง่ายแก่การจดจำ ซึ่งยังคงใช้กันอยู่ในปัจจุบันนี้
ก. การเรียกชื่อระบบสามัญ
ใช้เรียกชื่อสารอินทรีย์ที่โมเลกุลมีขนาดเล็ก ๆ และโครงสร้างโมเลกุลเป็นแบบง่ายๆ ดังที่กล่าวแล้วว่าการเรียกชื่อสามัญไม่มีหลักเกณฑ์ที่แน่นอน นักเคมีมักจะตั้งชื่อสารที่พบใหม่ตามที่นักเคมีผู้นั้นเห็นว่าเหมาะสม ซึ่งส่วนใหญ่มักจะมีส่วนสัมพันธ์กับสถานที่พบหรือแหล่งที่มาของสาร หรือมีส่วนสัมพันธ์กับสมบัติของสารนั้น แต่บางกรณีอาจจะตั้งชื่อสารโดยไม่มีส่วนสัมพันธ์กับสิ่งใด ๆเลยก็ได้
ตัวอย่างชื่อสามัญของสารอินทรีย์
· HCOOH เรียกว่า formic acid (กรดฟอร์มิก หรือกรดมด) มาจากภาษาละตินคำว่า formica ซึ่งแปลว่ามด กรดฟอร์มิกสามารถเตรียมได้จากมด โดยนำมาบดรวมกับน้ำแล้วกลั่นแยกออกมา
· morphine (มอร์ฟีน) ซึ่งใช้เป็นยาแก้ปวดและยานอนหลับ เรียกชื่อตามเทพเจ้าแห่งการนอนหลับของกรีก คือ morpheus
ชื่อสามัญส่วนใหญ่จะใช้เรียกชื่อโมเลกุลที่มีจำนวนอะตอมของคาร์บอนน้อย ๆ (ส่วนมากไม่เกิน 5 อะตอม) ซึ่งยังไม่มีไอโซเมอร์หรือมีไอโซเมอร์จำนวนน้อยและมีโครงสร้างโมเลกุลที่ไม่ซับซ้อน
· บางกรณีอาจจะต้องเติมคำนำหน้าบางอย่าง เช่น n- , iso- , neo- , เพื่อบอกความแตกต่างของสูตรโครงสร้าง
n- มาจากคำว่า normal ใช้นำหน้าชื่อสามัญของสารประกอบของคาร์บอน เพื่อแสดงว่าคาร์บอนอะตอมทั้งหมดของสารนั้นต่อกันเป็นสายยาว ไม่มีกิ่งก้านหรือสาขา เช่น
CH3 - CH2 - CH2 - CH3 เรียกว่า n - butane
CH3 - CH2 - CH2 - OH เรียกว่า n -propyl alcohol
เช่น
neo- ใช้นำหน้าชื่อสารประกอบของคาร์บอนที่มีโครงสร้างเป็น
เช่น
ตารางแสดง ตัวอย่างชื่อสามัญของสารอินทรีย์บางชนิดที่ควรรู้จัก
สูตรโครงสร้าง ชื่อสามัญ | สูตรโครงสร้าง ชื่อสามัญ |
CH2 = CH2 ethylene CH2 = CH - Cl vinyl chloride CH3 - CH2 - OH ethyl alcohol CHCl3 chloroform toluene benzoic acid furan thiophene pyridine isoperene | CH CH acetylene CH2= CH-CH2-Cl allyl chloride acetic acid acetone urea CH3-CH2 - O -CH2-CH3 ethyl ether crotonic acid anilline phenol pyrrole naphthalein hydroquinone |
การเรียกชื่อระบบ IUPAC
เป็นการเรียกชื่อตามระบบสากล มีหลักเกณฑ์ที่แน่นอนจึงทำให้เรียกชื่อสารอินทรีย์ได้ทุกชนิด ทั้งที่เป็นโมเลกุลเล็กและโมเลกุลใหญ่ หรือที่มีโครงสร้างโมเลกุลแบบง่าย และที่ซับซ้อน ซึ่งระบบนี้จะทำให้ทราบชนิดและลักษณะโครงสร้างของสาร เพราะหลักเกณฑ์ในการเรียกชื่อสารมีความสัมพันธ์กับโครงสร้างสาร
การเรียกชื่อระบบ IUPAC เริ่มต้นในปี ค.ศ. 1892 ที่กรุงเจนีวา ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ โดยการประชุมร่วมกันของนักเคมีเพื่อวางกฎเกณฑ์การเรียกชื่อสารอินทรีย์ ในครั้งแรกเรียกระบบการเรียกชื่อนี้ว่าระบบเจนีวา ต่อมาสหพันธ์นักเคมีระหว่างประเทศ (International Union of Chemistry) ได้เปลี่ยนแปลงแก้ไขให้เหมาะสมขึ้น ในปี ค.ศ. 1931 และเปลี่ยนชื่อเป็นระบบ IUC และเมื่อมีการค้นพบสารใหม่เพิ่มมากขึ้นจึงได้ปรับปรุงการเรียกชื่อใหม่อีกครั้งหนึ่งในปี ค.ศ. 1957 และเปลี่ยนชื่อเป็นระบบ IUPAC ดังที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน
หลักเกณฑ์การเรียกชื่อสารอินทรีย์ตามระบบ IUPAC โดยทั่ว ๆ ไปมีหลักดังนี้
ให้แบ่งการเรียกชื่อสารอินทรีย์ออกเป็น 3 ส่วน คือ
ส่วนที่ 1 เป็นชื่อโครงสร้างหลัก (basic unit หรือ parent name)
ส่วนที่ 2 เป็นคำลงท้าย (suffix)
ส่วนที่ 3 เป็นคำนำหน้า (prefix)
prefix + basic unit (parent name) + suffix
1. ชื่อโครงสร้างหลัก เป็นส่วนที่แสดงลักษณะโครงสร้างหลักของคาร์บอนที่ต่อกันเป็นสายตรงยาวที่สุด การเรียกชื่อโครงสร้างหลักจึงเรียกตามจำนวนอะตอมของคาร์บอนที่ต่อกันเป็นสายยาวที่สุด โดยกำหนดการเรียกชื่อดังนี้
ตารางแสดง ชื่อโครงสร้างหลักของสารประกอบของคาร์บอน
จำนวน C ที่ต่อกันเป็นสายยาวที่สุด | โครงสร้างของ C | ชื่อโครงสร้างหลัก |
1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 | C C-C C-C-C C-C-C-C C-C-C-C-C C-C-C-C-C-C C-C-C-C-C-C-C C-C-C-C-C-C-C-C C-C-C-C-C-C-C-C-C C-C-C-C-C-C-C-C-C-C | meth- eth- prop- but- pent- hex- hept- oct- non- dec- |
2.คำลงท้าย เป็นส่วนที่เต็มท้ายชื่อโครงสร้างหลัก เพื่อแสดงว่าสารอินทรีย์นั้นเป็นสารประกอบประเภทใด เป็นสารประกอบประเภทอิ่มตัวหรือไม่อิ่มตัว คำลงท้ายจะบอกให้ทราบถึงชนิดของหมู่ฟังก์ชันในโมเลกุล
ตารางแสดง ชื่อคำลงท้ายของสารประกอบคาร์บอน
คำลงท้าย | หมู่ฟังก์ชัน | ประเภทของสาร |
-ane -ene -yne -ol -one -al -oic acid -ate -oic amide | - CC - - OH | alkane alkene alkyne alcohol ketone aldehyde carboxylic acid ester amide |
3. คำนำหน้า เป็นส่วนที่เติมหน้าชื่อของโครงสร้างหลัก เพื่อจะบอกให้ทราบว่าในโครงสร้างหลักมีหมู่ฟังก์ชัน อะตอมหรือกลุ่มอะตอมใดบ้างมาต่ออย่างละกี่หมู่และอยู่ที่ C ตำแหน่งใดในโครงสร้างหลัก การบอกตำแหน่งของส่วนที่มาต่อให้ใช้ตัวเลขน้อยที่สุด (ตัวเลขที่แสดงตำแหน่งของ C ในโครงสร้างหลัก)
ตัวอย่างการนับตำแหน่งของคาร์บอนในโครงสร้างหลัก เมื่อมีกลุ่มอื่น ๆ มาต่อ
- ให้ตำแหน่งของ OH อยู่ในตำแหน่งที่น้อยที่สุด
ถูกต้อง ไม่ถูกต้อง
ถ้าในโครงสร้างหลักมีพันธะคู่ (C = C) อยู่ด้วย จะต้องระบุตำแหน่งพันธะคู่หรือพันธะสามด้วยโดยกำหนดให้เป็นเลขน้อยที่สุดเพียงค่าเดียว เช่น
พันธะคู่อยู่ในตำแหน่งที่ 2 , 3 ให้บอกเลขเดียวที่มีค่าน้อย คือ 2
ถ้าในโครงสร้างหลักมีกลุ่มอะตอมซ้ำ ๆ กันมาเกาะให้บอกจำนวนโดยใช้ภาษากรีก เช่น di = 2 กลุ่ม, tri = 3 กลุ่ม, tetra = 4 กลุ่ม, penta = 5 กลุ่ม
ถ้าในโครงสร้างหลักมีกลุ่มอะตอมหลายชนิดมาเกาะ ให้เรียกชื่อเรียงลำดับตามอักษรภาษาอังกฤษ
ตัวอย่าง
2-methyl- หมายถึง มี methyl group มาต่อที่ C ตำแหน่ง 2 ในโครงสร้างหลัก
3-hydroxy- หมายถึง มี OH มาต่อที่ C ตำแหน่ง 3 ในโครงสร้างหลัก
3-ethyl-2-methyl หมายถึง มี ethyl มาต่อที่ C ตำแหน่ง 3 และ methyl group มาต่อที่ C
ตำแหน่ง 2 ในโครงสร้างหลัก
โดยสรุป
เมื่อต้องการเรียกชื่อสารอินทรีย์หรือวิเคราะห์โครงสร้างของสารอินทรีย์ ให้พิจารณาโครงสร้างหลักก่อน โดยเลือก C ที่ต่อกันเป็นสายตรงยาวที่สุดเป็นหลักแล้วจึงพิจารณาคำลงท้ายและคำนำหน้า ตามลำดับ
รายละเอียดการเรียกชื่อสารอินทรีย์แต่ละประเภทจะกล่าวถึงอีกครั้ง เมื่อเรียนเกี่ยวกับเรื่องของสารประกอบนั้น ๆ
ปฏิกิริยาของสารอินทรีย์ที่สำคัญ
ปฏิกิริยาของสารอินทรีย์สามารถแบ่งได้เป็น 3 ประเภทใหญ่ ๆ คือ
1. ปฏิกิริยาการแทนที่ (Substitution reaction) หมายถึงปฏิกิริยาที่เกิดจากอะตอม H ในสารประกอบคาร์บอน ถูกแทนที่ด้วยอะตอมอื่น ๆ เช่น
CH3 - CH2 - CH3 + Br2 CH3 - CH2 - CH2 - Br + HBr
2. ปฏิกิริยาการเติมหรือปฏิกิริยาการรวมตัว (addition reaction) หมายถึงปฏิกิริยาที่มีการเติมอะตอม หรือหมู่อะตอมเข้าไปในสารประกอบที่ไม่อิ่มตัว เช่น
CH2 = CH2 + H2 CH3 - CH3
3.ปฏิกิริยาการกำจัด (elimination reaction) หมายถึง ปฏิกิริยาที่มีการกำจัดอะตอมหรือกลุ่มอะตอมออกไปจากโมเลกุล ซึ่งมักจะมีกรดหรือเบสเป็นตัวเร่งปฏิกิริยา เช่น
ไอโซเมอริซึม (ISOMERISM)
เนื่องจากธาตุคาร์บอนสามารถเกิดพันธะกับธาตุคาร์บอนด้วยกันเองได้โดยสามารถต่อกันเป็นทั้งสายยาวที่มีสาขา และนอกจากนี้ยังพบว่าสารอินทรีย์ที่มีจำนวนคาร์บอนเท่ากันยังสามารถเขียนโครงสร้างได้หลายแบบที่เรียกว่า ไอโซเมอร์ ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้สารอินทรีย์มีจำนวนมากมาย
ไอโซเมอริซึม หมายถึง ปรากฏการณ์ที่สารอนทรีย์มีสูตรโมเลกุลเหมือนกัน แต่มีสูตรโครงสร้างต่างกัน ซึ่งอาจจะเป็นสารประเภทเดียวหรือต่างชนิดกันก็ได้
ไอโซเมอร์ (isomer) หมายถึง สารอินทรีย์ที่มีสูตรโมเลกุลเหมือนกัน แต่มีสูตรโครงสร้างแตกต่างกัน เช่น
สารทั้งสองมีสูตรโมเลกุลเป็น C4H10 เหมือนกัน แต่มีสูตรโครงสร้างต่างกัน จึงจัดว่าเป็นไอโซเมอร์กัน
เพื่อให้เห็นความแตกต่างของโครงสร้างไอโซเมอร์ชัดเจนขึ้น พิจารณาโครงสร้าง 3 มิติ ดังนี้
รูปแสดง โครงสร้างโมเลกุลของไอโซเมอร์ของบิวเทนในลักษณะ 3 มิติ
ประเภทของไอโซเมอร์
ไอโซเมอร์อาจจะแบ่งเป็นประเภทใหญ่ ๆ ได้ 2 ประเภท คือ Structural isomer และ Stereoisomer
ก. Structural isomer เป็นไอโซเมอร์ในแง่ของโครงสร้าง หมายถึง สารอินทรีย์ที่มีสูตรโมเลกุลเหมือนกัน แต่มีสูตรโครงสร้างต่างกัน แบ่งเป็นประเภทย่อย ๆ ดังนี้
1.Skeleton isomer หมายถึง ไอโซเมอร์ที่มีการจัดเรียงโครงสร้างหลัก (Basic Unit) ของคาร์บอนอะตอมต่างกัน เช่น
สารทั้งสามชนิดมีสูตรโมเลกุลเหมือนกัน แต่สูตรโครงสร้างต่างกันเนื่องจากการจัดเรียงตัวของธาตุ C ในโรงสร้างหลัก ดังนั้นจึงจัดเป็น Skeleton isomer
2. Position isomer หมายถึง ไอโซเมอร์ที่เกิดจากหมู่ฟังก์ชัน มาต่อกับอะตอมคาร์บอนของโครงสร้างหลักในตำแหน่งที่ต่างกัน หรือกล่าวอีกอย่างหนึ่งว่าเป็นไอโซเมอร์ที่มีสูตรโมเลกุลเหมือนกัน มีหมู่ฟังก์ชันชนิดเดียวกัน แต่ตำแหน่งของหมู่ฟังก์ชันที่มาต่ออยู่กับ C แตกต่างกัน เช่น
สารทั้งสองชนิดเป็นแอลกอฮอล์เหมือนกัน ตัวแรกมีหมู่ -OH อยู่ที่คาร์บอนอะตอมที่ 1 แต่ตัวที่ 2 อยู่ที่อะตอมที่ 2 จึงทำให้สูตรโครงสร้างต่างกัน จัดเป็น Position isomer
อีกตัวอย่างหนึ่งที่จัดว่าเป็น Position isomer ได้แก่
3. functional isomer หมายถึง ไอโซเมอร์ที่มีหมู่ฟังก์ชันต่างกัน ไอโซเมอร์ประเภทนี้จะเป็นสารอินทรีย์ต่างชนิดกัน มีสูตรโมเลกุลเหมือนกันแต่สูตรโครงสร้างต่างกัน เช่น
สารตัวแรกเป็นแอลกอฮอล์มีหมู่ -OH สารตัวที่ 2 เป็นอีเทอร์มีหมู่ C - O - C ซึ่งทั้งสารทั้งสองชนิดมีหมู่ฟังก์ชันต่างกัน มีโครงสร้างต่างกันและเป็นสารต่างชนิดกันด้วย แต่มีสูตรโมเลกุลเหมือนกัน จึงจัดเป็นfunctional isomer
ตัวอย่างอื่น ๆ ของ functional isomer ได้แก่
ข. Stereoisomer เป็นไอโซเมอร์ในแง่ของการจัดเรียงอะตอม จึงทำให้มีสูตรโครงสร้างที่ต่างกันแบ่งเป็น 2 ประเภทคือ
1. geometrical isomer หรือ cis-trans isomer เป็นไอโซเมอร์ที่เกิดกับสารประกอบแอลคีนหรือสารอินทรีย์ที่คาร์บอนมีพันธะคู่ (C=C) อะตอมหรือกลุ่มอะตอมหรือหมู่ฟังก์ชันที่มาเกาะที่พันธะคู่จะเรียงตัวตามแบบเรขาคณิตที่ต่างกัน ไอโซเมอร์ประเภทนี้เมื่อเขียนสูตรโครงสร้างทั่วๆ ไปจะเหมือนกัน เช่น
ทั้งสองชนิดมีสูตรโมเลกุลเหมือนกันคือ C4H8 ถ้าเขียนสูตรโครงสร้างทั่วๆ ไปจะเป็น CH3-CH=CH-CH3 ซึ่งเหมือนกันทั้งสองชนิด แต่เมื่อแสดงรายละเอียดของตำแหน่งอะตอมที่มาต่อตรงพันธะคู่จะพบว่าแตกต่างกัน จึงจัดว่าเป็น geometrical isomer
cis-2-butene trans-2-butene
รูปแสดง geometrical isomer ของ 2-butene ในลักษณะ 3 มิติ
หมายเหตุ cis- ใช้กับไอโซเมอร์ที่มีกลุ่มอะตอมเหมือนกันอยู่ด้านเดียวกันของระนาบ
trans- ใช้กับไอโซเมอร์ที่กลุ่มอะตอมเหมือนกันอยู่ด้านตรงกันข้าม
การที่ cis-2-butene และ trans-2-butene มีสูตรโครงสร้างเชิงเรขาคณิตไม่เหมือนกัน เนื่องจากมีพันธะคู่ซึ่งไม่สามารถหมุนได้อย่างอิสระ
|
|
แต่ถ้าเป็นกรณีพันธะเดี่ยวถือว่าไม่ใช่ไอโซเมอร์ เช่น
สารทั้งสามเป็นสารชนิดเดียวกัน ไม่ใช่ไอโซเมอร์ เนื่องจาก C ที่ยึดด้วยพันธะเดี่ยวสามารถที่จะหมุนได้รอบตัวเอง 3600 จึงสามารถปรับรูปร่างให้เหมือนกันเป็นสารตัวเดียวกันได้
ตัวอย่างของ cis-trans isomer อื่นๆ ได้แก่
2. optical isomer เป็นไอโซเมอร์ที่เกิดจากสารที่มีสูตรโมเลกุลเหมือนกัน แต่มีคุณสมบัติในการบิดระนาบของแสงโพราไรซ์ไม่เหมือนกัน อันเนื่องมาจากการมีสูตรโครงสร้างที่แตกต่างกัน
สารประกอบไฮโดรคาร์บอน (Hydrocarbon Compounds)
สารประกอบไฮโดรคาร์บอน หมายถึงสารอินทรีย์ที่ประกอบด้วยธาตุคาร์บอนและไฮโดรเจนเท่านั้น โมเลกุลของสารประกอบไฮโดรคาร์บอนอาจจะประกอบด้วยคาร์บอนอะตอมจำนวนน้อย เช่น มีเทน อีเทน และโพรเพน หรืออาจจะมีคาร์บอนอะตอมจำนวนมากและมีโครงสร้างซับซ้อน เช่น แคโรทีน (carotene) ซึ่งเป็นสารสีส้มอยู่ในมะละกอสุก
CH4 มีเทน C2H6 อีเทน C3H8 โพรเพน
แคโรทีน (C40H56)
ไฮโดรคาร์บอนเป็นโมเลกุลโคเวเลนต์ชนิดไม่มีขั้ว มีทั้งสถานะของแข็ง ของเหลวและก๊าซทั้งนี้ขึ้นอยู่กับขนาดโมเลกุล โมเลกุลเล็ก ๆ เช่น มีเทน อีเทน จะเป็นก๊าซ แต่ถ้าโมเลกุลใหญ่ขึ้นจะเป็นของเหลวและของแข็งในที่สุด
สารประกอบไฮโดรคาร์บอนถ้าแบ่งตามลักษณะของโครงสร้างโมเลกุลจะได้ 3 ประเภท
ก. อะลิฟาติก ไฮโดรคาร์บอน (aliphatic hydrocarbon) หมายถึงสารประกอบไฮโดรคาร์บอนที่มีคาร์บอนอะตอมต่อกันเป็นสายแบบโซ่เปิด (open chain) อาจจะต่อกันเป็นสายยาวไม่มีกิ่ง เรียกว่า โซ่ตรง(straight chain) หรือต่อกันเป็นกิ่งกับคาร์บอนในสายยาวเรียกว่า โซ่กิ่ง (branch chain)
อะลิฟาติก ไฮโดรคาร์บอนแบ่งออกเป็น 3 ประเภท ตามชนิดของพันธะเคมีคือ แอลเคน ซึ่งมีพันธะเดี่ยว แอลคีนซึ่งมีพันธะคู่ และแอลไคน์ซึ่งมีพันธะสาม เช่น
CH3 - CH3 CH2 = CH2 CH CH
อีเทน อีทีน อีไทน์
(แอลเคน) (แอลคีน) (แอลไคน์)
ข. อะลิไซคลิก ไฮโดรคาร์บอน (alicyclic hydrocrabon) หรือไฮโดรคาร์บอนแบบวง หมายถึง ไฮโดรคาร์บอนที่คาร์บอนอะตอมต่อกันเป็นวงซึ่งอาจจะต่อกันเป็นวงดวยพันธะคาร์บอนทั้งหมด หรือด้วยคาร์บอนบางส่วนก็ได้แบ่งเป็น 3 ประเภท ได้แก่ ไซโคลแอลเคน ไซโคลแอลคีน และไซโคลแอลไคน์ เช่น
ไซโคลเพนเทน ไซโคลเฮกซีน ไซโคลเฮกไซน์
(ไซโคลแอลเคน) (ไซโคลแอลคีน) (ไซโคลแอลไคน์)
ค. อะโรมาติก ไฮโดรคาร์บอน (aromatic hydrocarbon) หมายถึง ไฮโดรคาร์บอนที่มีวงแหวนเบนซีนเป็นโครงสร้างหลัก เช่น
นอกจากแบ่งไฮโดรคาร์บอนเป็น 3 ประเภทดังกล่าวแล้ว อาจแบ่งประเภทของไฮโดรคาร์บอนได้อีกลักษณะหนึ่ง โดยอาศัยชนิดของพันธะระหว่าง C - C ในโมเลกุลซึ่งจะทำให้แบ่งไฮโดรคาร์บอนได้เป็น 2 ประเภท คือ
ก. สารประกอบไฮโดรคาร์บอนอิ่มตัว (saturated hydrocarbon) หมายถึง สารประกอบไฮโดรคาร์บอนที่อะตอมคาร์บอนยึดเหนี่ยวกับอะตอมคาร์บอนอื่น ๆ ด้วยพันธะเดี่ยวทั้งหมด โมเลกุลพวกนี้จะมีไฮโดรคาร์บอนมาเกาะที่คาร์บอนมากที่สุดจึงเรียกว่า สารประกอบไฮโดรคาร์บอนอิ่มตัว ไม่สามารถที่จะรับไฮไดรคาร์บอนเพิ่มได้อีก ได้แก่ แอลเคน และไซโคลแอลเคน เช่น
ข. สารประกอบไฮโดรคาร์บอนไม่อิ่มตัว (unsaturated hydrocarbon) หมายถึง สารประกอบไฮโดรคาร์บอนที่โมเลกุลมีพันธะคู่ หรือพันธะสามระหว่างคาร์บอนกับคาร์บอนอย่างน้อย 1 แห่ง โมเลกุลเหล่านี้จะมีไฮโดรเจนมาเกาะที่คาร์บอนน้อยกว่ากรณีสารประกอบอิ่มตัว สามารถที่จะนำมาเติมไฮโดรเจนให้กลายเป็นสารประกอบอิ่มตัว ได้แก่ แอลคีน แอลไคน์ ไซโคลแอลไคน์ และอะโรมาติกไฮโดรคาร์บอน เช่น
แหล่งกำเนิดของสารประกอบไฮโดรคาร์บอน
ไฮโดรคาร์บอนมีทั้งส่วนที่เกิดในธรรมชาติ และส่วนที่สังเคราะห์ขึ้นมา ส่วนที่เกิดในธรรมชาติได้แก่ ในถ่านหิน ก๊าซธรรมชาติ และน้ำมันปิโตรเลียม โดยเฉพาะน้ำมันปิโตรเลียม เมื่อนำมากลั่นลำดับส่วนจะได้ไฮโดรคาร์บอนหลายชนิดแยกออกเป็นช่วงๆ ตามจุดเดือด
การเขียนสูตรโครงสร้างของสารประกอบไฮโดรคาร์บอน
ดังที่ได้กล่าวมาแล้วว่า การเขียนสูตรโครงสร้างของสารอินทรีย์นั้นสามารถเขียนได้ทั้งแบบเส้น แบบย่อ หรือผสมกันทั้งสองแบบ สารประกอบไฮโดรคาร์บอนก็เขียนสูตรโครงสร้างได้ในทำนองเดียวกัน
พิจารณาตัวอย่างได้จากตาราง
ชื่อสาร | สูตรโมเลกุล | สูตรโครงสร้าง | |
แบบเส้น | แบบย่อ | ||
มีเทน | CH4 | CH4 | |
อีเทน | C2H6 | CH3CH3 | |
บิวเทน | C4H10 | CH3CH2CH2CH3 หรือ CH3(CH2)2CH3 | |
อีทีน | C2H4 | CH2=CH2 | |
โพรพีน | C3H6 | CH2=CHCH3 | |
อีไทน์ | C2H6 | CHCH | |
ไซโคลเฮกซน | C6H12 | หรือ | |
ไซโคลเพนทีน | C5H8 |
การเกิดไอโซเมอร์ของสารประกอบไฮโดรคาร์บอน
สารประกอบไฮโดรคาร์บอนเป็นสารโคเวเลนต์ที่เกิดจากคาร์บอนสร้างพันธะกับคาร์บอนด้วยกันเองอย่างต่อเนื่องทั้งพันธะเดี่ยว พันธะคู่และพันธะสาม เมื่อมีคาร์บอนมากขึ้น ก็สามารถจัดโครงสร้างของโมเลกุลได้หลายแบบ ถ้าแต่ละแบบมีสูตรโมเลกุลเหมือนกัน แต่สูตรโครงสร้างต่างกันก็เรียกว่า ไอโซเมอร์
การเปลี่ยนโครงสร้างจากโซ่กิ่ง การเปลี่ยนตำแหน่งพันธะคู่ระหว่างคาร์บอนก็ทำให้เกิด โครงสร้างใหม่เพิ่มขึ้น ซึ่งต่างก็เป็นไอโซเมอร์
สมบัติบางประการของไอโซเมอร์
พิจารณาสมบัติบางประการของ CH3 - CH2 - CH2 - CH3 กับ (CH3)2CHCH3 ซึ่งเป็นไอโซเมอร์กัน มีสูตรโมเลกุลเป็น C4H10 เหมือนกันดังนี้
ตารางที่ 10.7 สมบัติบางประการของสารที่มีสูตรโมเลกุลเป็น C4H10
สูตรโครงสร้าง | จุดหลอมเหลว (0C) | จุดเดือด (0C) | ความหนาแน่นที่ 20 0C (g/cm3) |
CH3 - CH2 - CH2 - CH3 | -138.4 | -0.5 | 0.578 |
-159.6 | -11.7 | 0.549 |
จะเห็นได้ว่าไอโซเมอร์แต่ละชนิดมีสมบัติบางประการ เช่น มีจุดหลอมเหลว จุดเดือดและความหนาแน่นต่างกัน ดังนั้นต้องถือว่าเป็นสารต่างชนิดกัน การที่สารอินทรีย์เกิดไอโซเมอร์ได้ จึงทำให้มีสารประกอบของคาร์บอนจำนวนมาก
ตัวอย่างเช่น C4H10 , C5H12 , และ C6H14 มีจำนวนไอโซเมอร์เป็น 2 , 3 และ 5 ตามลำดับ
สมบัติของสารประกอบไฮโดรคาร์บอน
สมบัติทั่วๆ ไปของสารประกอบไฮโดรคาร์บอน อาจจะสรุปได้เป็นข้อ ๆ ดังนี้
1. เป็นโมเลกุลโคเวเลนต์ไม่มีขั้ว มีทั้งสถานะของแข็ง ของเหลวและก๊าซ
2. ไม่ละลายน้ำหรือละลายน้ำได้น้อยมาก เนื่องจากเป็นโมเลกุลไม่มีขั้ว นอกจากนี้ยังมีความหนาแน่นน้อยกว่าน้ำ
3. ละลายได้ดีในตัวทำละลายที่ไม่มีขั้วโดยเฉพาะตัวทำละลายอินทรีย์เช่นเบนซีนและโทลูอีน
4. มีจุดหลอมเหลวและจุดเดือดค่อนข้างต่ำเมื่อเทียบกับสารอื่น ๆ ที่มีมวลโมเลกุลใกล้เคียงกัน
เนื่องจากเป็นโมเลกุลไม่มีขั้วจึงมีแรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุลเพียงชนิดเดียวคือ แรงแวนเดอร์วาลส์ ซึ่งเป็นแรงที่อ่อนมาก จึงทำให้จุดเดือดและจุดหลอมเหลวต่ำ แต่อย่างไรก็ตามเนื่องจากแรงแวนเดอร์วาลส์แปรผันตามมวลโมเลกุล ดังนั้นสารประกอบไฮโดรคาร์บอนอนุกรมเดียวกันเมื่อคาร์บอนเพิ่มขึ้น (มวลโมเลกุลเพิ่มขึ้น) จุดเดือดและจุดหลอมเหลวจึงเพิ่มขึ้น
5. ไม่นำไฟฟ้าในทุกสถานะ
6. เกิดปฏิกิริยาเผาไหม้ได้ง่าย จัดเป็นประเภทคายความร้อน ถ้าการเผาไหม้สมบูรณ์จะได้ CO2 และ H2O โดยไม่มีเขม่า แต่ถ้าการเผาไหม้ไม่สมบูรณ์จะเกิดเขม่า
7. ในการเกิดปฏิกิริยาเคมี พวกสารประกอบไฮโดรคาร์บอนอิ่มตัวจะเกิดปฏิกิริยาแทนที่ พวกไม่อิ่มตัวจะเกิดปฏิกิริยาการเติม
การเผาไหม้ของสารประกอบไฮโดรคาร์บอน
สารประกอบไฮโดรคาร์บอนเป็นสารอินทรีย์ที่ติดไฟง่าย บางชนิดติดไฟแล้วให้เปลวไฟสว่างไม่มีควัน และไม่มีเขม่า บางชนิดก็ติดไฟแล้วให้เปลวไฟสว่างพร้อมกับมีควันหรือเขม่า พวกที่ติดไฟแล้วไม่มีเขม่าเรียกว่าเกิดการเผาไหม้อย่างสมบูรณ์ ได้ผลิตภัณฑ์เป็น CO2 และ H2O พวกนี้ได้แก่การเผาไหม้ของสารประกอบไฮโดรคาร์บอนอิ่มตัว เช่น แอลเคน และไซโคลแอลเคน สำหรับพวกที่ติดไฟแล้วเกิดเขม่าเรียกว่ามีการเผาไหม้ที่ไม่สมบูรณ์นอกจากจะได้ CO2 และ H2O แล้วยังได้ CO และ C ด้วย พวกนี้ได้แก่การเผาไหม้ของสารประกอบไฮโดรคาร์บอนที่ไม่อิ่มตัว เช่น แอลคีน ไซโคลอัลคีน แอลไคน์ และอะโรมาติกไฮโดรคาร์บอน ยิ่งสารนั้นไม่อิ่มตัวมากเท่าใด จะยิ่งมีเขม่ามากขึ้นเท่านั้น ดังนั้นพวกไฮโดรคาร์บอนที่โมเลกุลมีพันธะคู่มีเขม่าน้อยกว่าพวกที่มีพันธะสามและพวกที่มีพวกสามจะน้อยกว่าพวกอะโรมาติกไฮโดรคาร์บอน
ปริมาณของเขม่าเมื่อเผาไหม้ พันธะคู่ < พันธะสาม < อะโรมาติก
เช่นปริมาณเขม่าจากการเผา CH2 = CH2 < CH CH
นอกจากจะพิจารณาการเกิดเขม่าขากชนิดของพันธะแล้ว ยังอาจจะพิจารณาได้จากอัตราส่วนของ C : H ในโมเลกุลได้อีกด้วย “สารที่มีอัตราส่วน C : H น้อย จะมีเขม่าน้อย สารที่มีอัตราส่วน C : H มาก จะมีเขม่ามาก
แอลเคน = เช่น C6H14 มี =
แอลคีน = เช่น C6H14 มี =
แอลไคน์มี = เช่น C6H10 มี =
อะโรมาติกไฮโดรคาร์บอน เช่น เบนซีน (C6H6) มี =
จะเห็นได้ว่าแอลเคนมี C : H น้อย เมื่อเผาไฟจะไม่เกิดเขม่า แต่อัลคีน แอลไคน์ และอะโรมาติกไฮโดรคาร์บอน มี C : H มาก เมื่อเผาไฟจึงเกิดเขม่า
อะโรมาติกไฮโดรคาร์บอน มี C : H มากที่สุด เมื่อเผาไฟจะเกิดเขม่ามากที่สุด
อย่างไรก็ตามการเผาไหม้ที่กล่าวถึงนี้หมายถึงการเผาไหม้ในภาวะปกติ ที่อุณหภูมิและความดันห้องหรือเผาในที่ ๆ มี O2 จำนวนจำกัด ซึ่งการเผาสารประกอบไม่อิ่มตัวจะเกิดเขม่าเนื่องจากการเผาไหม้เกิดไม่สมบูรณ์แต่ถ้านำสารไม่อิ่มตัวเหล่านี้ไปเผาในบริเวณที่มีปริมาณ O2 จำนวนมากเกินพอจะเกิดการเผาไหม้อย่างสมบูรณ์และไม่มีเขม่า
ในกรณีที่การเผาไหม้ของสารประกอบไฮโดรคาร์บอนเกิดขึ้นอย่างสมบูรณ์ สามารถเขียนสมการทั่วๆ ไปได้ดังนี้
CxHy + ( x + )O2 ® xCO2 + H2O
CxHy คือ ไฮโดรคาร์บอน เช่น
การเผาไหม้ของแอลเคน
C5H12 + 8O2 ® 5CO2 + 6H2O
C5H16 + 11O2 ® 7CO2 + 8H2O
การเผาไหม้ของแอลคีน
C4H8 + 6O2 ® 4CO2 + 4H2O
C6H12 + 9O2 ® 6CO2 + 6H2O
การเผาไหม้ของแอลไคน์
C3H4 + 4O2 ® 3CO2 + 2H2O
C5H8 + 7O2 ® 5CO2 + 4H2O
การเผาไหม้ของอะโรมาติก
C7H8 + 9O2 ® 7CO2 + 4H2O
C6H6 + 15/2O2 ® 6CO2 + 3H2O