วันพุธที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

สารประกอบของคาร์บอน

สารประกอบของคาร์บอน

สารประกอบของคาร์บอนเป็นสารเคมีที่น่าสนใจมากที่สุดอย่างหนึ่ง เนื่องจากมีส่วนเกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันค่อนข้างมาก สิ่งต่าง ๆ ที่อยู่รอบ ๆ ตัวจะเกี่ยวข้องกับสารประกอบของคาร์บอนเป็นส่วนใหญ่ เช่น อาหารพวกโปรตีน คาร์โบไฮเดรตและไขมัน เครื่องนุ่งห่มพวกใยสังเคราะห์ และใยธรรมชาติ ยารักษาโรค เครื่องใช้ต่าง ๆ ที่ทำจากพลาสติก ผงซักฟอก น้ำมัน น้ำหอม และกระดาษ  เป็นต้น
นอกจากนี้สารประกอบของคาร์บอนยังมีส่วนเกี่ยวข้องโดยตรงกับชีวิต โดยเป็นส่วนประกอบของเซลล์ในสิ่งมีชีวิต  กล่าวได้ว่าสารประกอบของคาร์บอนส่วนใหญ่เกิดจากสิ่งมีชีวิต กระบวนการเปลี่ยนต่าง ๆ ที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตก็เกิดจากการเปลี่ยนแปลงทางเคมีของสารประกอบของคาร์บอน เช่นเดียวกัน การเรียนรู้เกี่ยวกับสารประกอบของคาร์บอนจึงเป็นสิ่งจำเป็น


ธาตุคาร์บอน
          เพื่อให้เข้าใจเกี่ยวกับสารประกอบของคาร์บอน จึงควรทำความเข้าใจเกี่ยวกับธาตุคาร์บอนก่อนดังนี้
          คาร์บอนเป็นธาตุที่มีอยู่ในโลกค่อนข้างมากทั้งในรูปของธาตุอิสระและสารประกอบ ในตรารงธาตุจัดไว้เป็นธาตุหมู่ที่ IV  คาบที่ มีเลขอะตอม  6  โดยมีการจัดเรียงอิเล็กตรอนเป็น  1s2  2s2  2p2 หรือ 2 , 4 มีไอโซโทปที่สำคัญ  3  ชนิดคือ  12C ,   13C,  และ  14C  โดยมีมวลอะตอมเฉลี่ยเป็น  12.011
          สมบัติทั่ว ๆ ไปของคาร์บอนได้แก่
·     มีจุดหลอมเหลว 3730 0และจุดเดือด 4830 0C (ในเพชร)
·     เป็นของแข็ง มีความหนาแน่น 3.51 g/cm3  ในเพชร และ 2.26 g/cm3 ในแกรไฟต์
·     มีรัศมีอะตอม 0.077 nm
·     มีพลังงานไอออไนเซชันลำดับที่หนึ่ง (IE1) 1086 kJ/Mol
·     มีอิเล็กโตรเนกาติวิตี 2.5
          คาร์บอนที่อยู่ในภาวะอิสระตามธรมชาติมี  2  รูป  คือ แกรไฟต์และเพชร
















รูปแสดง โครงสร้างของแกรไฟต์และเพชร
          คาร์บอนที่อยู่ในรูปของสารประกอบมีทั้งสารอินทรีย์และสารอนินทรีย์  เช่น น้ำมัน พลาสติก  กระดาษ และหินปูน เป็นต้น

สารอินทรีย์และสารอนินทรีย์
          โดยทั่ว ๆ ไปอาจจะแบ่งสารประกอบต่างๆ ได้เป็น  ประเภท คือสารอินทรีย์และสารอนินทรีย์
          สารอินทรีย์  หมายถึง สารที่มีคาร์บอนเป็นองค์ประกอบหลัก และมีธาตุอื่น ๆ เป็นองค์ประกอบร่วม เช่น ธาตุ H , O, N, P, S, Cl, และ Br  เป็นต้น ดังนั้นสารอินทรีย์ทุกชนิดจะต้องมีธาตุ C  อยู่ด้วยเสมอ จึงกล่าวได้ว่าสารอินทรีย์ คือสารประกอบของคาร์บอน (ยกเว้นสารประกอบของคาร์บอนบางชนิดซึ่งจะกล่าวถึงรายละเอียดต่อไป)
          เดิมนักเคมีเชื่อว่าสารอินทรีย์จะต้องเกิดจากสิ่งมีชีวิตเท่านั้น อาจจะเกิดอยู่ในธรรมชาติหรือสังเคราะห์จากสารอินทรีย์ด้วยกัน แต่จะสังเคราะห์จากสารอนินทรีย์ไม่ได้ จนกระทั่งประมาณปี ค.. 1776  Carl Wilhelm Scheele นักวิทยาศาสตร์ชาวสวีเดนจึงสามารถวิเคราะห์สารอินทรีย์จากสารอนินทรีย์ได้โดยการเตรียมกรดออกซาลิกจากปฏิกิริยาระหว่างกรดไนตริกเข้มข้นกับน้ำตาลอ้อย แต่ก็ยังไม่เป็นที่ยอมรับกันมากนัก

                   น้ำตาลอ้อย  กรดไนตริก(เข้มข้น® กรดออกซาลิก
                                        สารอนินทรีย์                สารอินทรีย์
          ต่อมาในปี ค.. 1828 ฟรีดริช เวอเลอร์ (Fridrich Wohler) นักเคมีชาวเยอรมันจึงสามารถเตรียมยูเรียซึ่งเป็นสารอินทรีย์ จากการเผาแอมโมเนียมไซยาเนต ซึ่งเป็นสารอนินทรีย์ได้ดังนี้


                   NH4CNO    NH2 - CO - NH2
                   แอมโมเนียมไซยาเนต                  ยูเรีย

          ยูเรีย เป็นสารอินทรีย์ซึ่งส่วนใหญ่พบในปัสสาวะของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ส่วนแอมโมเนียมไซยาเนตเป็นสารอนินทรีย์ที่มีคาร์บอนเป็นองค์ประกอบ
          จากการที่เวอร์เลอร์ สามารถเตรียมยูเรียจากสารอนินทรีย์ได้ ทำให้เริ่มยอมรับกันว่าสารอินทรีย์สามารถสังเคราะห์จากสารอนินทรีย์ได้ ซึ่งหลังจากนั้นได้มีการสังเคราะห์สารอินทรีย์จากสารอนินทรีย์ในห้องปฏิบัติการได้เป็นจำนวนมาก นักเคมีจึงเชื่อว่าสารอินทรีย์นอกจากจะมีอยู่ในธรรมชาติ  และในสิ่งมีชีวิตแล้ว ยังสามารถสังเคราะห์จากสารอนินทรีย์ซึ่งได้จากสิ่งไม่มีชีวิตด้วย สารอินทรีย์ทุกชนิดจะต้องมีธาตุคาร์บอนเป็นองค์ประกอบและถึงแม้ว่าสารอินทรีย์ไม่จำเป็นที่จะต้องได้จากสิ่งมีชีวิตแต่ส่วนใหญ่ก็ยังคงได้จากสิ่งมีชีวิต ปัจจุบันได้ค้นพบสารอินทรีย์แล้วมากกว่า  ล้านชนิด และในแต่ละวันยังมีการค้นพบสารใหม่อีกอย่างสม่ำเสมอ

          สารอนินทรีย์  หมายถึง สารประกอบอื่น ๆ ที่ไม่ใช่สารอินทรีย์ สารอนินทรีย์ประกอบด้วยธาตุต่าง ๆ จำนวนมากเช่น S, O, Cl, Na, Mg, Al และ C  เป็นต้น เช่น  H2SO4 , NaCl , K2SO4.Al2(SO4)3.24H2O   เป็นต้น





ตารางแสดง ข้อแตกต่างระหว่างสารอินทรีย์และสารอนินทรีย์

สมบัติ
สารอินทรีย์
สารอนินทรีย์
1.ธาตุที่เป็นองค์ประกอบ
ส่วนใหญ่เป็นธาตุ และ H  ธาตุอื่น ๆ เช่น O, N, S, P, Cl, Brและ I  มีเป็นส่วนน้อย
มีธาตุทุกชนิด
2. ชนิดของพันธะเคมี
พันธะโคเวเลนต์
มีทั้งพันธะโคเวเลนต์และพันธะไอออนิก (ส่วนมากเป็นพันธะไอออนิก)
3. การละลายน้ำ
ส่วนมากไม่ละลายน้ำ ยกเว้นพวกโมเลกุลมีขั้วขนาดเล็ก ๆ เช่น แอลกอฮอล์ กรดอินทรีย์
ส่วนมากละลายน้ำได้ดี
4. การนำไฟฟ้าของสารละลาย (ในน้ำ)
ไม่นำไฟฟ้าหรือนำไฟฟ้าได้น้อยมาก
ส่วนใหญ่พวกที่ละลายน้ำจะนำไฟฟ้าไดดีโดยเฉพาะ สารไอออนิก
5. การละลายในตัวทำละลายอินทรีย์
ส่วนมากละลายได้ดี
ส่วนมากไม่ละลาย
6. จุดหลอมเหลว จุดเดือด
ส่วนมากค่อนข้างต่ำ
ส่วนมากค่อนข้างสูง
7. การเผาไหม้
ติดไฟง่าย อาจจะมีเขม่า
ติดไฟยาก ต้องใช้ความร้อนสูงมาก และ เมื่อติดไฟแล้วจะมีกากของแข็งเหลืออยู่
8. อัตราการเกิดปฏิกิริยา
เกิดค่อนข้างช้า
เกิดเร็ว
9. ตัวเร่งปฏิกิริยา
ส่วนมากต้องใช้
ส่วนมากไม่ต้องใช้

สารประกอบของคาร์บอน
          หมายถึง สารที่มีธาตุคาร์บอน (C) เป็นองค์ประกอบอยู่ด้วยซึ่งอาจจะเป็นสารอินทรีย์หรือสารอนินทรีย์ก็ได้
          ตัวอย่างที่เป็นสารอินทรีย์ เช่น พวกไฮโดรคาร์บอนในน้ำมันดิบ ก๊าซธรรมชาติและถ่านหิน แอลกอฮอล์ กรดอินทรีย์  เป็นต้น
          ตัวอย่างที่เป็นสารอนินทรีย์  เช่น
¨  สารประกอบออกไซด์  CO2 , CO
¨  สารประกอบคาร์บอนเนตและไฮโดรเจนคาร์บอเนต เช่น  CaCO3 ในหินปูน หินปะการัง หินอ่อน NaHCO3  (โซดาแอช)  เป็นต้น
¨  สารประกอบซัลไฟด์  เช่น  CS2
¨  สารประกอบไซยาไนด์ และไซยาเนต  เช่น NaCN  NH4CNO
¨  กรดคาร์บอนิก (H2CO3)  เป็นต้น

การเกิดสารประกอบของธาตุคาร์บอน
          เมื่อพิจารณาตำแหน่งของคาร์บอนในตารางธาตุ จะพบว่าเป็นธาตุในหมู่ 4A  ดังนั้นจึงมีเวเลนต์อิเล็กตรอนเท่ากับ 4
          จากความรู้ในเรื่องพันธะเคมีและค่าอิเล็กโตรเนกาติวิตีของคาร์บอนซึ่งค่อนข้างต่ำ ทำให้ทราบว่าคาร์บอนสามารถเกิดเป็นสารประกอบโคเวเลนต์ได้ โดยที่ธาตุคาร์บอนแต่ละอะตอมจะใช้อิเล็กตรอนร่วมกับอะตอมของธาตุอื่น ๆ อีก  อิเล็กตรอนเพื่อให้มีการจัดเรียงอิเล็กตรอนครบออกเตต ในทำนองเดียวกับโครงสร้างของธาตุเฉื่อย เช่น ถ้าใช้เวเลนต์อิเล็กตรอนร่วมกับไฮโดรเจน อะตอมจะได้สารประกอบที่เรียกว่ามีเทน ดังนี้
          นอกจากธาตุคาร์บอนจะเกิดพันธะกับธาตุอื่น ๆ แล้วยังสามารถเกิดพันธะกับธาตุคาร์บอนด้วยกันเองได้อีกด้วย   เช่น
                   
          จำนวนคาร์บอนอะตอมที่จะมาต่อกันเองนั้นอาจจะน้อยเช่น  2  อะตอมในอีเทน หรืออาจจะมากกว่าก็ได้ และอาจจะต่อกันเป็นสายยาวหรือเป็นสายยาวมีสาขา หรือ เป็นวงแบบต่าง ๆ ก็ได้ การจัดเรียงตัวของคาร์บอนในรูปแบบต่าง ๆ จะทำให้เกิดโมเลกุลที่มีสมบัติเฉพาะตัวต่าง ๆ กันและถ้ามีธาตุอื่น ๆ เป็นองค์ประกอบด้วย เช่น   O , Cl , S  และ  N  เป็นต้น ก็จะยิ่งทำให้ได้โมเลกุลที่มีสมบัติเฉพาะตัวแตกต่างกันมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้พันธะระหว่างคาร์บอนอาจจะเป็นพันธะเดี่ยว คู่ หรือ พันธะสามก็ได้ ทำให้สารประกอบของคาร์บอนมีจำนวนมากมายดังที่กล่าวมาแล้ว

แหล่งกำเนิดของสารประกอบของคาร์บอนในธรรมชาติ
          สารประกอบของคาร์บอนมีทั้งที่เกิดในธรรมชาติและที่สังเคราะห์ขึ้นมา แหล่งกำเนิดในธรรมชาติที่สำคัญได้แก่
*    ถ่านหิน   ซึ่งเชื่อกันว่าเกิดจากซากพืชและสัตว์ที่ตาบทับถมกันตั้งแต่สมัยดึกดำบรรพ์เป็นชั้น ๆ จนกลายเป็นถ่านหิน ถ่านหินโดยทั่ว ๆ ไปจะมีคาร์บอนเป็นองค์ประกอบประมาณ 50 - 95%  ถ้าเผาถ่านหินให้ร้อนจัดในที่ไม่มีอากาศ ถ่านหินจะเกิดการสลายตัว พวกสารที่ระเหยได้ง่าย เช่น ก๊าซถ่านหินและน้ำมันดิบ (Coal tar) จะระเหยแยกออกไปเหลือสิ่งที่เรียกว่าถ่านโค๊ก (Coke) ซึ่งนำไปใช้กันมากในอุตสาหกรรม เช่น ใช้เป็นเชื้อเพลิงและ ใช้เป็นตัวรีดิวซ์
*    ปิโตรเลียม  เกิดจากสิ่งมีชีวิตที่ตายทับถมกันเช่นเดียวกับถ่านหิน ส่วนใหญ่จะเป็นพวกสารประกอบไฮโดรคาร์บอน มีทั้งส่วนที่เป็นของเหลวระเหยง่ายไปจนถึงของแข็งที่ระเหยยาก ส่วนใหญ่ใช้ประโยชน์เป็นเชื้อเพลิง
*    ก๊าซธรรมชาติ  เป็นสารประกอบไฮโดรคาร์บอนเช่นเดียวกับปิโตรเลียม และมักจะเกิดรวมกับปิโตรเลียม

การเขียนสูตรโครงสร้างในสารประกอบของคาร์บอน
          สูตรโครงสร้าง คือ สูตรที่นอกจากจะแสดงจำนวนอะตอมของธาตุที่เป็นองค์ประกอบของสารแล้ว ยังแสดงลักษณะการจัดเรียงอะตอมของธาตุต่าง ๆ ในโมเลกุล ซึ่งทำให้ทราบว่ามีธาตุใดบ้าง อย่างละกี่อะตอม แต่ละอะตอมยึดเหนี่ยวกับอะตอมอื่น ๆ อย่างไร  โดยทั่วไปสามารถเขียนสูตรโครงสร้างของสารประกอบคาร์บอนได้  4  วิธีตามความเหมาะสมดังนี้
          สูตรโครงสร้างแบบเส้น (Extended structural formula)
           วิธีนี้เป็นการเขียนสูตรที่แสดงรายละเอียดของชนิดของพันธะและตำแหน่งที่อยู่ในโมเลกุลทั้งหมด เหมาะสำหรับโมเลกุลที่มีขนาดเล็ก หรือโมเลกุลที่ไม่ซับซ้อนมากนัก  เช่น
          บิวทีน (C4H8เขียนสูตรโครงสร้างแบบเส้นได้เป็น
          เอทานอล (C2H5OH) เขียนสูตรโครงสร้างแบบเส้นได้เป็น
          สูตรโครงสร้างแบบย่อ (Condensed structural formula)
             วิธีนี้เป็นการเขียนสัญลักษณ์ของ  C  ต่อเนื่องกันโดยไม่ต้องแสดงพันธะแบบเส้น  (ยกเว้นพันธะคู่และพันธะสามอะตอมของธาตุอื่น ๆ ที่เกิดพันธะกับ  C  อะตอมใด ให้เขียนไว้ติดกับ อะตอมนั้นโดยไม่ต้องแสดงพันธะ และถ้าโครงสร้างมีลักษณะซ้ำ ๆ กัน ให้ใช้วงเล็บแทนการเขียนทั้งหมดได้
          เช่น     โพรเพน  (C3H8)  เขียนเป็น     CH3CH2CH3
                   บิวเทน  (C4H10)  เขียนเป็น     CH3CH2CH2CH3 หรือ  CH3(CH2)2CH3 
                   ออกเทน (C8H18)  เขียนเป็น    CH3CH2CH2CH2CH2CH2CH2CH3
        หรือ  CH3(CH2)6CH3
                   บิวทีน  (C4H8)  เขียนเป็น       CH2=CHCH2CH3
                   เอทานอล (C2H6O)  เขียนเป็น  CH3CH2OH

          สูตรโครงสร้างแบบย่อบางส่วน (Partially extended structural formula)
          เป็นการเขียนสูตรโครงสร้างแบบย่ออีกประเภทหนึ่ง โดยผสมระหว่างแบบ ก.  และ ขเพื่อต้องการเน้นบางอย่างให้เด่นชัดขึ้น การเขียนสูตรประเภทนี้มักจะแสดงพันธะระหว่าง กับ C  สำหรับพันธะระหว่างC  กับอะตอมอื่น ๆ จะแสดงหรือไม่ก็ได้  เช่น
          บิวเทน  (C4H10)   เขียนเป็น  CH3 - CH2 - CH2 - CH3
          เอทานอล (C2H6O) เขียนเป็น  CH3 - CH2 - OH  หรือ  C2H5 - OH

          . Bond line convention
          เหมาะสำหรับโมเลกุลใหญ่ ๆ ที่มีจำนวนอะตอมของคาร์บอนมาก ๆ ในสูตรโครงสร้างแบบนี้ไม่ต้องแสดงอะตอมของ C  หรืออะตอมของ  H  ที่เกาะกับ  C  ให้ใช้เส้นตรงแทนโครงสร้างโดยตรง จุดตัดของเส้นตรงจะแสดงตำแหน่งของ C  จุดปลายของโครงสร้างถ้าไม่มีอะตอมอื่นเขียนไว้แสดงว่าเป็นอะตอม C  เช่น

          จะเห็นได้ว่าสูตรโครงสร้างแบบต่าง ๆ ที่แสดงให้ดูนั้น อยู่ในลักษณะ มิติ ซึ่งความจริงการจัดเรียงอะตอมของธาตุจะเป็นลักษณะ มิติ เนื่องจากทิศทางการเกิดพันธะของคาร์บอนบังคับไว้ ทำให้ไม่ได้ต่อกันอยู่ในแนวเส้นตรง
          พิจารณา ตัวอย่างการเขียนสูตรโครงสร้างแบบ  3  มิติต่อไปนี้

          มีเทน (CH4)



          .  อีเทน (C2H4 หรือ CH2 = CH2)





          อีไทน์หรืออเซทิลีน (C2H2 หรือ HCCH)





          บิวเทน (C4H10)



หมู่ฟังก์ชัน (Functional Group)

          หมู่ฟังก์ชัน หมายถึง อะตอมหรือกลุ่มของอะตอมที่เข้าไปแทนที่ไฮโดรเจนอะตอมในสารประกอบไฮโดรคาร์บอน เช่น -OH,  -COOH,  -Cl  หมู่ฟังก์ชันเป็นส่วนสำคัญของโมเลกุลซึ่งจะแสดงสมบัติเฉพาะตัวของโมเลกุลหรือของสารประกอบคาร์บอนนั้น  และเป็นส่วนที่ทำให้สมบัติทางเคมีและทางกายภาพของสารแตกต่างกัน  เช่น สารอินทรีย์บางชนิดมีสูตรโมเลกุลเหมือนกัน แต่มีหมู่ฟังก์ชันต่างกันก็ทำให้กลายเป็นสารต่างชนิดกัน การเกิดปฏิกิริยาเคมีของสารอินทรีย์มักจะเกิดปฏิกิริยาตรงส่วนที่เป็นหมู่ฟังก์ชัน โดยที่หมู่ฟังก์ชันชนิดซึ่งมีอยู่เดิมจะสลายตัวไปหรือกลายเป็นหมู่ฟังก์ชันใหม่ ทำให้ได้สารประกอบชนิดใหม่ที่มีสมบัติต่าง ๆ แตกต่างไปจากเดิม ดังนั้นหมู่ฟังก์ชันจึงเป็นเรื่องสำคัญอย่างหนึ่งของสารอินทรีย์
                   หมู่ฟังก์ชันที่สำคัญและควรจะรู้จักมีดังนี้



ตารางแสดง หมู่ฟังก์ชันบางชนิดและสารประกอบที่มีหมู่ฟังก์ชันเป็นองค์ประกอบ

ประเภท
หมู่ฟังก์ชัน
ตัวอย่างสารประกอบ

ชื่อหมู่ฟังก์ชัน
สูตรโครงสร้าง
สูตรทั่วไป

1. ไฮโดรคาร์บอน
    อัลเคน
    อัลคีน
    อัลไคน์
    อะโรมาติก

พันธะเดี่ยว
พันธะคู่
พันธะสาม
วงเบนซีน

C - C
C = C
CC

R-CH2 - CH2-R
R-CH = CH-R
RCCR

H3C - CH3 (อีเทน)
H2C = CH2 (เอทิลีน)
HCCH (อะเซทิลีน)
(เบนซีน)
2. เฮไลด์
เฮไลด์
-X ( X = Cl, Br , I, )
R’ - X
CH3 - Cl :เมทิลคลอไรด์
3. แอลกอฮอล์
ไฮดรอกซิล
-OH
R - OH
CH3 - CH2 - OH
เอทิลแอลกอฮอล์
4. อีเทอร์
ออกซิ
- O -
R’ - O - R’
CH3 -CH2- O -CH2-CH3
ไดเอทิลอีเทอร์
5. เอมีน
อะมิโน
- NH2
R’ - NH2
CH3 - NH เมทิลเอมีน
6. อัลดีไฮด์
คาร์บอกซาลดีไฮด์
ฟอร์มาลดีไฮด์
7. คีโตน
คาร์บอนิล
อะซิโตน
8. กรดอินทรีย์
คาร์บอกซิล
กรดเอซิติก
9. เอไมด์
เอไมด์
อะเซตาไมด์
10. เอสเทอร์
แอลคอกซีคาร์บอนิล(คาร์บอกซิเลต)
เมทิลแอซิเตต
11. ไนไตรต์
(ไซยาไนด์)
ไซยาไนด์
- CN
R - CN
CH3-CN (อะซิโตไนไตรต์)
หมายเหตุ   R =  H  หรือ CnH2n+1  และ  R’ = CnH2n+1    เมื่อ  n = 1, 2, 3, …)

การจำแนกประเภทของสารอินทรีย์
          ในปัจจุบันมีสารอินทรีย์ที่พบแล้วมากกว่า  2  ล้านชนิด โดยทั่ว ๆ ไปแต่ละชนิดจะมีสมบัติเฉพาะตัวที่แตกต่างกัน บางชนิดแตกต่างกันในแง่ของสมบัติทางกายภาพ หรือสมบัติทางเคมี บางชนิดแตกต่างกันทั้งสมบัติทางกายภาพและสมบัติทางเคมี เพื่อความสะดวกแก่การศึกษาจึงได้นำสารอินทรีย์มาจำแนกเป็นหมวดหมู่   ซึ่งอาจจะทำได้หลายวิธีตามเกณฑ์ที่กำหนดขึ้น เช่น จำแนกเป็นหมวดหมู่โดยใช้หมู่ฟังก์ชันและใช้ลักษณะโครงสร้าง เป็นต้น
          การจำแนกประเภทของสารอินทรีย์โดยใช้หมู่ฟังก์ชันเป็นเกณฑ์จะได้ดังแผนภาพต่อไปนี้

          ไฮโดรคาร์บอน หมายถึง สารอินทรีย์ที่ประกอบด้วยคาร์บอนและไฮโดรเจนเท่านั้น
          อะลิฟาติก (aliphatic)  หมายถึง สารอินทรีย์ที่คาร์บอนไม่ได้ต่อกันเป็นวงหรือ เรียกว่าต่อกันแบบโซ่เปิด อาจเป็นโซ่ตรง หรือโซ่กิ่ง และมีได้ทั้งพันธะเดี่ยว พันธะคู่และพันธะสาม
          อะลิไซคลิก (alicyclic)  หมายถึงสารอินทรีย์ที่คาร์บอนต่อกันเป็นวง
          อะโรมาติก (aromatic) หมายถึงสารอินทรีย์ที่มีคาร์บอนต่อกันเป็นวงโดยมีวงแหวนเบนซีนเป็นโครงสร้างหลัก เช่น โทลูอีน
          อนุพันธ์ของไฮโดรคาร์บอน (derivative of hydrocarbon)  หมายถึง สารประกอบที่เกิดจากอะตอมหรือกลุ่มอะตอมของธาตุ เข้าไปแทนที่  H  ในสารประกอบไฮโดรคาร์บอน  ได้แก่
          แอลกอฮอล์ หมายถึง สารอินทรีย์ที่มีหมู่  -OH เกิดจาก H  ในไฮโดรคาร์บอนถูกแทนที่ด้วย -OH  เช่น  CH3-OH
          ฟีนอล หมายถึง สารประกอบอะโรมาติกที่มีหมู่  -OH ต่ออยู่กับ  C  ในวงแหวนเบนซีน  เช่น  C6H5-OH 
          อีเทอร์  หมายถึงสารอินทรีย์ที่มีโครงสร้าง  R - C - O - C - R  อาจเป็นสารอะลิฟาติกหรืออโรมาติกก็ได้  เช่น  CH3 - O - CH3
          แอดีไฮด์  หมายถึง สารอินทรีย์ที่มีสูตรโครงสร้าง -CHO อยู่ในโมเลกุล   เช่น CH3-CHO ,      H-CHO  เป็นต้น
          กรดอินทรีย์  หมายถึง สารอินทรีย์ที่มีหมู่ -COOH อยู่ในโมเลกุล เช่น H-COOH ,  CH3-COOH
          เอสเทอร์ หมายถึง สารอินทรีย์ที่มีสูตรโครงสร้างเป็น  RCOOR’  เช่น  CH3COOCH3 , CH3COOC2H5  เป็นต้น
          เอมีน  หมายถึง สารอินทรีย์ที่มีหมู่ -NH2 อยู่ในโมเลกุล เช่น  CH3 - NH2 , C2H5 - NH2
          เอไมด์  หมายถึง สารอินทรีย์ที่มีหมู่  -CO.NH2 อยู่ในโมเลกุล เช่น  H - CONH2 , CH3-CONH2
          แฮไลด์ หมายถึง สารอินทรีย์ที่มีเฮโลเจนอยู่ในโมเลกุล เช่น CH3-I , C2H5Cl
         
          การจำแนกสารอินทรีย์นอกจากจะใช้หมู่ฟังก์ชันเป็นเกณฑ์แล้ว ยังอาจใช้เกณฑ์อย่างอื่นได้ เช่น ใช้ลักษณะของโครงสร้างโมเลกุลเป็นเกณฑ์ดังนี้
          โฮโมไซคลิก (Homocyclic) หมายถึง สารอินทรีย์ที่คาร์บอนทั้งหมดหรือบางส่วนต่อกันแบบวงโดยที่มนวงมีแต่คาร์บอนเท่านั้น
          เฮเทอโรไซคลิก (Heterocyclic) หมายถึง สารอินทรีย์ที่คาร์บอนต่อกันแบบวง โดยมีอะตอมของธาตุอื่น เช่น O, N, S (เรียกว่า hetero atom)  อยู่ในวงด้วย  เช่น

การเรียกชื่อสารอินทรีย์
          การเรียกชื่อสารอินทรีย์ในสมัยแรก ๆ ไม่มีกฎเกณฑ์ที่แน่นอน เนื่องจากมีสารที่พบไม่มากนักจึงมักจะเรียกชื่อตามที่นักเคมีคิดว่าเหมาะสม ซึ่งอาจจะเรียกชื่อตามสิ่งที่พบหรือตามสถานที่พบ ชื่อที่เรียกโดยไม่มีกฎเกณฑ์เหล่านี้ เรียกว่าชื่อสามัญ (common name)  ต่อมาเมื่อมีการค้นพบสารอินทรีย์เพิ่มมากขึ้น การเรียกชื่อสามัญจึงเริ่มมีปัญหาเกิดขึ้นเนื่องจากชื่อสามัญส่วนมากจะไม่มีส่วนสัมพันธ์กับชนิดของสารหรือไม่มีส่วนสัมพันธ์กับสูตรโครงสร้าง ทำให้ยากแก่การจดจำว่าสารดังกล่าวนั้นเป็นสารประเภทใด มีสูตรโครงสร้างเป็นอย่างไร โดยเฉพาะสารที่มีสูตรโครงสร้างคล้าย ๆ กันหรือที่มีสูตรโครงสร้างซับซ้อนจะเรียกชื่อสามัญไม่ได้ นักเคมีจึงได้กำหนดกฎเกณฑ์ในการเรียกชื่อขึ้นใหม่ให้เป็นระบบเดียวกันว่า ระบบ IUPAC (International Union of Pure and Applied Chemistry)  การเรียกชื่อในระบบ IUPAC นี้มีส่วนสัมพันธ์กับชนิดและสูตรโครงสร้างของสารจึงทำให้ง่ายแก่การจดจำ ซึ่งยังคงใช้กันอยู่ในปัจจุบันนี้
         
          การเรียกชื่อระบบสามัญ
              ใช้เรียกชื่อสารอินทรีย์ที่โมเลกุลมีขนาดเล็ก ๆ และโครงสร้างโมเลกุลเป็นแบบง่ายๆ ดังที่กล่าวแล้วว่าการเรียกชื่อสามัญไม่มีหลักเกณฑ์ที่แน่นอน นักเคมีมักจะตั้งชื่อสารที่พบใหม่ตามที่นักเคมีผู้นั้นเห็นว่าเหมาะสม ซึ่งส่วนใหญ่มักจะมีส่วนสัมพันธ์กับสถานที่พบหรือแหล่งที่มาของสาร หรือมีส่วนสัมพันธ์กับสมบัติของสารนั้น แต่บางกรณีอาจจะตั้งชื่อสารโดยไม่มีส่วนสัมพันธ์กับสิ่งใด ๆเลยก็ได้
          ตัวอย่างชื่อสามัญของสารอินทรีย์
·     HCOOH เรียกว่า  formic acid (กรดฟอร์มิก หรือกรดมดมาจากภาษาละตินคำว่า formica ซึ่งแปลว่ามด กรดฟอร์มิกสามารถเตรียมได้จากมด โดยนำมาบดรวมกับน้ำแล้วกลั่นแยกออกมา
·     morphine (มอร์ฟีน)  ซึ่งใช้เป็นยาแก้ปวดและยานอนหลับ เรียกชื่อตามเทพเจ้าแห่งการนอนหลับของกรีก คือ morpheus
ชื่อสามัญส่วนใหญ่จะใช้เรียกชื่อโมเลกุลที่มีจำนวนอะตอมของคาร์บอนน้อย ๆ (ส่วนมากไม่เกิน อะตอมซึ่งยังไม่มีไอโซเมอร์หรือมีไอโซเมอร์จำนวนน้อยและมีโครงสร้างโมเลกุลที่ไม่ซับซ้อน
· บางกรณีอาจจะต้องเติมคำนำหน้าบางอย่าง เช่น  n- , iso- , neo- , เพื่อบอกความแตกต่างของสูตรโครงสร้าง
                   n- มาจากคำว่า  normal ใช้นำหน้าชื่อสามัญของสารประกอบของคาร์บอน เพื่อแสดงว่าคาร์บอนอะตอมทั้งหมดของสารนั้นต่อกันเป็นสายยาว ไม่มีกิ่งก้านหรือสาขา  เช่น
                   CH3 - CH2 - CH2 - CH3    เรียกว่า   n - butane
                   CH3 - CH2 - CH2 - OH    เรียกว่า   n -propyl alcohol

 
                   iso-   ใช้นำหน้าชื่อสารประกอบของคาร์บอนที่มีโครงสร้างเป็น 
                   เช่น
 
                   
                   neo- ใช้นำหน้าชื่อสารประกอบของคาร์บอนที่มีโครงสร้างเป็น
                   เช่น
                             

ตารางแสดง ตัวอย่างชื่อสามัญของสารอินทรีย์บางชนิดที่ควรรู้จัก

สูตรโครงสร้าง           ชื่อสามัญ
สูตรโครงสร้าง           ชื่อสามัญ
CH2 = CH2                  ethylene
CH2 = CH - Cl             vinyl chloride
CH3 - CH2 - OH         ethyl alcohol
CHCl3                      chloroform
         toluene
benzoic acid
               furan
              thiophene
             pyridine

     isoperene
CH CH                     acetylene
CH2= CH-CH2-Cl           allyl chloride
           acetic acid
          acetone
           urea
CH3-CH2 - O -CH2-CH3   ethyl ether
crotonic acid
           anilline
            phenol
                    pyrrole
         naphthalein
      hydroquinone


การเรียกชื่อระบบ IUPAC
          เป็นการเรียกชื่อตามระบบสากล มีหลักเกณฑ์ที่แน่นอนจึงทำให้เรียกชื่อสารอินทรีย์ได้ทุกชนิด ทั้งที่เป็นโมเลกุลเล็กและโมเลกุลใหญ่ หรือที่มีโครงสร้างโมเลกุลแบบง่าย และที่ซับซ้อน ซึ่งระบบนี้จะทำให้ทราบชนิดและลักษณะโครงสร้างของสาร เพราะหลักเกณฑ์ในการเรียกชื่อสารมีความสัมพันธ์กับโครงสร้างสาร
          การเรียกชื่อระบบ IUPAC เริ่มต้นในปี ค.. 1892 ที่กรุงเจนีวา ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ โดยการประชุมร่วมกันของนักเคมีเพื่อวางกฎเกณฑ์การเรียกชื่อสารอินทรีย์ ในครั้งแรกเรียกระบบการเรียกชื่อนี้ว่าระบบเจนีวา ต่อมาสหพันธ์นักเคมีระหว่างประเทศ (International Union of Chemistry) ได้เปลี่ยนแปลงแก้ไขให้เหมาะสมขึ้น ในปี ค.. 1931 และเปลี่ยนชื่อเป็นระบบ IUC  และเมื่อมีการค้นพบสารใหม่เพิ่มมากขึ้นจึงได้ปรับปรุงการเรียกชื่อใหม่อีกครั้งหนึ่งในปี ค.. 1957 และเปลี่ยนชื่อเป็นระบบ IUPAC  ดังที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน
          หลักเกณฑ์การเรียกชื่อสารอินทรีย์ตามระบบ IUPAC   โดยทั่ว ๆ ไปมีหลักดังนี้
          ให้แบ่งการเรียกชื่อสารอินทรีย์ออกเป็น ส่วน คือ
                   ส่วนที่ 1  เป็นชื่อโครงสร้างหลัก (basic unit  หรือ parent name)
                   ส่วนที่ 2  เป็นคำลงท้าย (suffix)
                   ส่วนที่ 3  เป็นคำนำหน้า (prefix)
           
          prefix  +  basic unit (parent name)  + suffix

          1. ชื่อโครงสร้างหลัก  เป็นส่วนที่แสดงลักษณะโครงสร้างหลักของคาร์บอนที่ต่อกันเป็นสายตรงยาวที่สุด การเรียกชื่อโครงสร้างหลักจึงเรียกตามจำนวนอะตอมของคาร์บอนที่ต่อกันเป็นสายยาวที่สุด โดยกำหนดการเรียกชื่อดังนี้

ตารางแสดง  ชื่อโครงสร้างหลักของสารประกอบของคาร์บอน

จำนวน ที่ต่อกันเป็นสายยาวที่สุด
โครงสร้างของ  C
ชื่อโครงสร้างหลัก
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
C
C-C
C-C-C
C-C-C-C
C-C-C-C-C
C-C-C-C-C-C
C-C-C-C-C-C-C
C-C-C-C-C-C-C-C
C-C-C-C-C-C-C-C-C
C-C-C-C-C-C-C-C-C-C
meth-
eth-
prop-
but-
pent-
hex-
hept-
oct-
non-
dec-
          2.คำลงท้าย เป็นส่วนที่เต็มท้ายชื่อโครงสร้างหลัก เพื่อแสดงว่าสารอินทรีย์นั้นเป็นสารประกอบประเภทใด เป็นสารประกอบประเภทอิ่มตัวหรือไม่อิ่มตัว คำลงท้ายจะบอกให้ทราบถึงชนิดของหมู่ฟังก์ชันในโมเลกุล

ตารางแสดง ชื่อคำลงท้ายของสารประกอบคาร์บอน

คำลงท้าย
หมู่ฟังก์ชัน
ประเภทของสาร
-ane

-ene

-yne
-ol
-one

-al


-oic acid

-ate


-oic amide

- CC -
- OH

alkane

alkene

alkyne
alcohol
ketone

aldehyde


carboxylic acid

ester


amide

          3. คำนำหน้า เป็นส่วนที่เติมหน้าชื่อของโครงสร้างหลัก เพื่อจะบอกให้ทราบว่าในโครงสร้างหลักมีหมู่ฟังก์ชัน อะตอมหรือกลุ่มอะตอมใดบ้างมาต่ออย่างละกี่หมู่และอยู่ที่ ตำแหน่งใดในโครงสร้างหลัก การบอกตำแหน่งของส่วนที่มาต่อให้ใช้ตัวเลขน้อยที่สุด (ตัวเลขที่แสดงตำแหน่งของ ในโครงสร้างหลัก)
          ตัวอย่างการนับตำแหน่งของคาร์บอนในโครงสร้างหลัก เมื่อมีกลุ่มอื่น ๆ มาต่อ
                   ให้ตำแหน่งของ OH  อยู่ในตำแหน่งที่น้อยที่สุด
 
                              
                             ถูกต้อง                        ไม่ถูกต้อง
          ถ้าในโครงสร้างหลักมีพันธะคู่ (C = C) อยู่ด้วย จะต้องระบุตำแหน่งพันธะคู่หรือพันธะสามด้วยโดยกำหนดให้เป็นเลขน้อยที่สุดเพียงค่าเดียว เช่น
                  พันธะคู่อยู่ในตำแหน่งที่ 2 , 3 ให้บอกเลขเดียวที่มีค่าน้อย คือ 2

          ถ้าในโครงสร้างหลักมีกลุ่มอะตอมซ้ำ ๆ กันมาเกาะให้บอกจำนวนโดยใช้ภาษากรีก เช่น di = 2 กลุ่ม,  tri = 3 กลุ่ม,  tetra = 4 กลุ่ม, penta = 5 กลุ่ม 
          ถ้าในโครงสร้างหลักมีกลุ่มอะตอมหลายชนิดมาเกาะ ให้เรียกชื่อเรียงลำดับตามอักษรภาษาอังกฤษ
ตัวอย่าง
          2-methyl-    หมายถึง มี methyl group มาต่อที่ ตำแหน่ง ในโครงสร้างหลัก
          3-hydroxy-  หมายถึง มี  OH มาต่อที่ ตำแหน่ง ในโครงสร้างหลัก
          3-ethyl-2-methyl    หมายถึง มี ethyl มาต่อที่ ตำแหน่ง 3  และ methyl group มาต่อที่ C
                                   ตำแหน่ง 2  ในโครงสร้างหลัก
โดยสรุป
          เมื่อต้องการเรียกชื่อสารอินทรีย์หรือวิเคราะห์โครงสร้างของสารอินทรีย์ ให้พิจารณาโครงสร้างหลักก่อน โดยเลือก ที่ต่อกันเป็นสายตรงยาวที่สุดเป็นหลักแล้วจึงพิจารณาคำลงท้ายและคำนำหน้า ตามลำดับ
          รายละเอียดการเรียกชื่อสารอินทรีย์แต่ละประเภทจะกล่าวถึงอีกครั้ง เมื่อเรียนเกี่ยวกับเรื่องของสารประกอบนั้น ๆ

ปฏิกิริยาของสารอินทรีย์ที่สำคัญ
          ปฏิกิริยาของสารอินทรีย์สามารถแบ่งได้เป็น  3  ประเภทใหญ่ ๆ คือ
          1. ปฏิกิริยาการแทนที่ (Substitution reaction) หมายถึงปฏิกิริยาที่เกิดจากอะตอม ในสารประกอบคาร์บอน ถูกแทนที่ด้วยอะตอมอื่น ๆ เช่น
          CH3 - CH2 - CH3  + Br2    CH3 -   CH- CH2 - Br   +  HBr
                   
          2. ปฏิกิริยาการเติมหรือปฏิกิริยาการรวมตัว (addition reaction)  หมายถึงปฏิกิริยาที่มีการเติมอะตอม หรือหมู่อะตอมเข้าไปในสารประกอบที่ไม่อิ่มตัว เช่น

                   CH2 = CH2 + H2     CH3 - CH3
                   
          3.ปฏิกิริยาการกำจัด (elimination reaction) หมายถึง ปฏิกิริยาที่มีการกำจัดอะตอมหรือกลุ่มอะตอมออกไปจากโมเลกุล ซึ่งมักจะมีกรดหรือเบสเป็นตัวเร่งปฏิกิริยา เช่น

ไอโซเมอริซึม (ISOMERISM)
          เนื่องจากธาตุคาร์บอนสามารถเกิดพันธะกับธาตุคาร์บอนด้วยกันเองได้โดยสามารถต่อกันเป็นทั้งสายยาวที่มีสาขา และนอกจากนี้ยังพบว่าสารอินทรีย์ที่มีจำนวนคาร์บอนเท่ากันยังสามารถเขียนโครงสร้างได้หลายแบบที่เรียกว่า ไอโซเมอร์ ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้สารอินทรีย์มีจำนวนมากมาย
          ไอโซเมอริซึม  หมายถึง ปรากฏการณ์ที่สารอนทรีย์มีสูตรโมเลกุลเหมือนกัน แต่มีสูตรโครงสร้างต่างกัน ซึ่งอาจจะเป็นสารประเภทเดียวหรือต่างชนิดกันก็ได้
          ไอโซเมอร์ (isomer) หมายถึง สารอินทรีย์ที่มีสูตรโมเลกุลเหมือนกัน แต่มีสูตรโครงสร้างแตกต่างกัน เช่น
          สารทั้งสองมีสูตรโมเลกุลเป็น C4H10  เหมือนกัน แต่มีสูตรโครงสร้างต่างกัน จึงจัดว่าเป็นไอโซเมอร์กัน
          เพื่อให้เห็นความแตกต่างของโครงสร้างไอโซเมอร์ชัดเจนขึ้น พิจารณาโครงสร้าง  มิติ ดังนี้











รูปแสดง โครงสร้างโมเลกุลของไอโซเมอร์ของบิวเทนในลักษณะ มิติ

ประเภทของไอโซเมอร์
          ไอโซเมอร์อาจจะแบ่งเป็นประเภทใหญ่ ๆ ได้ ประเภท คือ Structural isomer  และ Stereoisomer
          . Structural isomer เป็นไอโซเมอร์ในแง่ของโครงสร้าง หมายถึง สารอินทรีย์ที่มีสูตรโมเลกุลเหมือนกัน แต่มีสูตรโครงสร้างต่างกัน แบ่งเป็นประเภทย่อย ๆ ดังนี้
          1.Skeleton isomer หมายถึง ไอโซเมอร์ที่มีการจัดเรียงโครงสร้างหลัก (Basic Unit) ของคาร์บอนอะตอมต่างกัน  เช่น

          สารทั้งสามชนิดมีสูตรโมเลกุลเหมือนกัน แต่สูตรโครงสร้างต่างกันเนื่องจากการจัดเรียงตัวของธาตุ  C  ในโรงสร้างหลัก ดังนั้นจึงจัดเป็น Skeleton isomer
         
          2. Position isomer  หมายถึง ไอโซเมอร์ที่เกิดจากหมู่ฟังก์ชัน มาต่อกับอะตอมคาร์บอนของโครงสร้างหลักในตำแหน่งที่ต่างกัน หรือกล่าวอีกอย่างหนึ่งว่าเป็นไอโซเมอร์ที่มีสูตรโมเลกุลเหมือนกัน  มีหมู่ฟังก์ชันชนิดเดียวกัน แต่ตำแหน่งของหมู่ฟังก์ชันที่มาต่ออยู่กับ แตกต่างกัน  เช่น

          สารทั้งสองชนิดเป็นแอลกอฮอล์เหมือนกัน ตัวแรกมีหมู่ -OH อยู่ที่คาร์บอนอะตอมที่ แต่ตัวที่ อยู่ที่อะตอมที่ จึงทำให้สูตรโครงสร้างต่างกัน จัดเป็น Position isomer
          อีกตัวอย่างหนึ่งที่จัดว่าเป็น Position isomer ได้แก่

            3. functional isomer หมายถึง ไอโซเมอร์ที่มีหมู่ฟังก์ชันต่างกัน ไอโซเมอร์ประเภทนี้จะเป็นสารอินทรีย์ต่างชนิดกัน มีสูตรโมเลกุลเหมือนกันแต่สูตรโครงสร้างต่างกัน เช่น

          สารตัวแรกเป็นแอลกอฮอล์มีหมู่  -OH  สารตัวที่ เป็นอีเทอร์มีหมู่  C - O - C  ซึ่งทั้งสารทั้งสองชนิดมีหมู่ฟังก์ชันต่างกัน มีโครงสร้างต่างกันและเป็นสารต่างชนิดกันด้วย แต่มีสูตรโมเลกุลเหมือนกัน จึงจัดเป็นfunctional isomer
            ตัวอย่างอื่น ๆ ของ functional isomer ได้แก่

          . Stereoisomer  เป็นไอโซเมอร์ในแง่ของการจัดเรียงอะตอม จึงทำให้มีสูตรโครงสร้างที่ต่างกันแบ่งเป็น ประเภทคือ
                   1. geometrical isomer หรือ cis-trans isomer เป็นไอโซเมอร์ที่เกิดกับสารประกอบแอลคีนหรือสารอินทรีย์ที่คาร์บอนมีพันธะคู่ (C=C) อะตอมหรือกลุ่มอะตอมหรือหมู่ฟังก์ชันที่มาเกาะที่พันธะคู่จะเรียงตัวตามแบบเรขาคณิตที่ต่างกัน ไอโซเมอร์ประเภทนี้เมื่อเขียนสูตรโครงสร้างทั่วๆ ไปจะเหมือนกัน เช่น

          ทั้งสองชนิดมีสูตรโมเลกุลเหมือนกันคือ C4H8  ถ้าเขียนสูตรโครงสร้างทั่วๆ ไปจะเป็น          CH3-CH=CH-CH3  ซึ่งเหมือนกันทั้งสองชนิด แต่เมื่อแสดงรายละเอียดของตำแหน่งอะตอมที่มาต่อตรงพันธะคู่จะพบว่าแตกต่างกัน จึงจัดว่าเป็น geometrical isomer








cis-2-butene             trans-2-butene
รูปแสดง geometrical isomer ของ 2-butene ในลักษณะ มิติ

หมายเหตุ  cis-  ใช้กับไอโซเมอร์ที่มีกลุ่มอะตอมเหมือนกันอยู่ด้านเดียวกันของระนาบ
              trans- ใช้กับไอโซเมอร์ที่กลุ่มอะตอมเหมือนกันอยู่ด้านตรงกันข้าม

          การที่ cis-2-butene   และ  trans-2-butene มีสูตรโครงสร้างเชิงเรขาคณิตไม่เหมือนกัน เนื่องจากมีพันธะคู่ซึ่งไม่สามารถหมุนได้อย่างอิสระ
2
 
1
 
 
ถ้าหมุนคาร์บอนตัวที่ ไปคาร์บอนตัวที่ จะหมุนตามไปด้วยเท่ากัน ถ้าหมุนเพียงอะตอมเดียวจะทำให้พันธะแตกออกหรือสลายตัวได้ ดังนั้นจึงไม่สามารถที่จะจัดลักษณะการเรียงอะตอมของสารทั้งสองให้เหมือนกัน หรือไม่สามารถนำมาซ้อนกันสนิทเป็นรูปเดียวกันได้ จึงจัดว่าเป็นไอโซเมอร์
          แต่ถ้าเป็นกรณีพันธะเดี่ยวถือว่าไม่ใช่ไอโซเมอร์  เช่น
          สารทั้งสามเป็นสารชนิดเดียวกัน ไม่ใช่ไอโซเมอร์ เนื่องจาก ที่ยึดด้วยพันธะเดี่ยวสามารถที่จะหมุนได้รอบตัวเอง 3600  จึงสามารถปรับรูปร่างให้เหมือนกันเป็นสารตัวเดียวกันได้
          ตัวอย่างของ cis-trans isomer  อื่นๆ ได้แก่

            2. optical isomer  เป็นไอโซเมอร์ที่เกิดจากสารที่มีสูตรโมเลกุลเหมือนกัน แต่มีคุณสมบัติในการบิดระนาบของแสงโพราไรซ์ไม่เหมือนกัน อันเนื่องมาจากการมีสูตรโครงสร้างที่แตกต่างกัน




สารประกอบไฮโดรคาร์บอน (Hydrocarbon Compounds)
         
          สารประกอบไฮโดรคาร์บอน หมายถึงสารอินทรีย์ที่ประกอบด้วยธาตุคาร์บอนและไฮโดรเจนเท่านั้น โมเลกุลของสารประกอบไฮโดรคาร์บอนอาจจะประกอบด้วยคาร์บอนอะตอมจำนวนน้อย เช่น มีเทน อีเทน และโพรเพน หรืออาจจะมีคาร์บอนอะตอมจำนวนมากและมีโครงสร้างซับซ้อน เช่น แคโรทีน (carotene) ซึ่งเป็นสารสีส้มอยู่ในมะละกอสุก

          CH4    มีเทน             C2H6    อีเทน            C3H8    โพรเพน

แคโรทีน (C40H56)
          ไฮโดรคาร์บอนเป็นโมเลกุลโคเวเลนต์ชนิดไม่มีขั้ว มีทั้งสถานะของแข็ง ของเหลวและก๊าซทั้งนี้ขึ้นอยู่กับขนาดโมเลกุล โมเลกุลเล็ก ๆ เช่น มีเทน  อีเทน จะเป็นก๊าซ แต่ถ้าโมเลกุลใหญ่ขึ้นจะเป็นของเหลวและของแข็งในที่สุด

          สารประกอบไฮโดรคาร์บอนถ้าแบ่งตามลักษณะของโครงสร้างโมเลกุลจะได้  3  ประเภท
          อะลิฟาติก ไฮโดรคาร์บอน (aliphatic hydrocarbon) หมายถึงสารประกอบไฮโดรคาร์บอนที่มีคาร์บอนอะตอมต่อกันเป็นสายแบบโซ่เปิด (open chain) อาจจะต่อกันเป็นสายยาวไม่มีกิ่ง เรียกว่า โซ่ตรง(straight chain)  หรือต่อกันเป็นกิ่งกับคาร์บอนในสายยาวเรียกว่า โซ่กิ่ง (branch chain)
          อะลิฟาติก ไฮโดรคาร์บอนแบ่งออกเป็น ประเภท ตามชนิดของพันธะเคมีคือ แอลเคน ซึ่งมีพันธะเดี่ยว แอลคีนซึ่งมีพันธะคู่ และแอลไคน์ซึ่งมีพันธะสาม  เช่น
         
          CH3 - CH3                CH2 = CH2                         CH CH
              อีเทน                      อีทีน                               อีไทน์
           (แอลเคน)                (แอลคีน)                           (แอลไคน์)

          อะลิไซคลิก ไฮโดรคาร์บอน (alicyclic hydrocrabon) หรือไฮโดรคาร์บอนแบบวง หมายถึง ไฮโดรคาร์บอนที่คาร์บอนอะตอมต่อกันเป็นวงซึ่งอาจจะต่อกันเป็นวงดวยพันธะคาร์บอนทั้งหมด หรือด้วยคาร์บอนบางส่วนก็ได้แบ่งเป็น  ประเภท ได้แก่ ไซโคลแอลเคน ไซโคลแอลคีน และไซโคลแอลไคน์  เช่น
                       ไซโคลเพนเทน             ไซโคลเฮกซีน            ไซโคลเฮกไซน์
                      (ไซโคลแอลเคน)           (ไซโคลแอลคีน)          (ไซโคลแอลไคน์)

          อะโรมาติก ไฮโดรคาร์บอน (aromatic hydrocarbon) หมายถึง ไฮโดรคาร์บอนที่มีวงแหวนเบนซีนเป็นโครงสร้างหลัก  เช่น
          นอกจากแบ่งไฮโดรคาร์บอนเป็น ประเภทดังกล่าวแล้ว อาจแบ่งประเภทของไฮโดรคาร์บอนได้อีกลักษณะหนึ่ง โดยอาศัยชนิดของพันธะระหว่าง C - C ในโมเลกุลซึ่งจะทำให้แบ่งไฮโดรคาร์บอนได้เป็น  2 ประเภท คือ
          สารประกอบไฮโดรคาร์บอนอิ่มตัว (saturated hydrocarbon) หมายถึง สารประกอบไฮโดรคาร์บอนที่อะตอมคาร์บอนยึดเหนี่ยวกับอะตอมคาร์บอนอื่น ๆ ด้วยพันธะเดี่ยวทั้งหมด โมเลกุลพวกนี้จะมีไฮโดรคาร์บอนมาเกาะที่คาร์บอนมากที่สุดจึงเรียกว่า สารประกอบไฮโดรคาร์บอนอิ่มตัว ไม่สามารถที่จะรับไฮไดรคาร์บอนเพิ่มได้อีก ได้แก่  แอลเคน และไซโคลแอลเคน  เช่น

          สารประกอบไฮโดรคาร์บอนไม่อิ่มตัว (unsaturated hydrocarbon) หมายถึง สารประกอบไฮโดรคาร์บอนที่โมเลกุลมีพันธะคู่ หรือพันธะสามระหว่างคาร์บอนกับคาร์บอนอย่างน้อย แห่ง โมเลกุลเหล่านี้จะมีไฮโดรเจนมาเกาะที่คาร์บอนน้อยกว่ากรณีสารประกอบอิ่มตัว สามารถที่จะนำมาเติมไฮโดรเจนให้กลายเป็นสารประกอบอิ่มตัว ได้แก่ แอลคีน แอลไคน์ ไซโคลแอลไคน์ และอะโรมาติกไฮโดรคาร์บอน เช่น
แหล่งกำเนิดของสารประกอบไฮโดรคาร์บอน
          ไฮโดรคาร์บอนมีทั้งส่วนที่เกิดในธรรมชาติ และส่วนที่สังเคราะห์ขึ้นมา ส่วนที่เกิดในธรรมชาติได้แก่ ในถ่านหิน ก๊าซธรรมชาติ และน้ำมันปิโตรเลียม โดยเฉพาะน้ำมันปิโตรเลียม เมื่อนำมากลั่นลำดับส่วนจะได้ไฮโดรคาร์บอนหลายชนิดแยกออกเป็นช่วงๆ ตามจุดเดือด

การเขียนสูตรโครงสร้างของสารประกอบไฮโดรคาร์บอน
          ดังที่ได้กล่าวมาแล้วว่า การเขียนสูตรโครงสร้างของสารอินทรีย์นั้นสามารถเขียนได้ทั้งแบบเส้น แบบย่อ หรือผสมกันทั้งสองแบบ สารประกอบไฮโดรคาร์บอนก็เขียนสูตรโครงสร้างได้ในทำนองเดียวกัน

พิจารณาตัวอย่างได้จากตาราง
ชื่อสาร
สูตรโมเลกุล
สูตรโครงสร้าง


แบบเส้น
แบบย่อ
มีเทน
CH4
CH4
อีเทน
C2H6
CH3CH3
บิวเทน
C4H10
CH3CH2CH2CH3 หรือ
CH3(CH2)2CH3
อีทีน
C2H4
CH2=CH2
โพรพีน
C3H6
CH2=CHCH3
อีไทน์
C2H6
CHCH
ไซโคลเฮกซน
C6H12
หรือ 
ไซโคลเพนทีน
C5H8

การเกิดไอโซเมอร์ของสารประกอบไฮโดรคาร์บอน
          สารประกอบไฮโดรคาร์บอนเป็นสารโคเวเลนต์ที่เกิดจากคาร์บอนสร้างพันธะกับคาร์บอนด้วยกันเองอย่างต่อเนื่องทั้งพันธะเดี่ยว พันธะคู่และพันธะสาม เมื่อมีคาร์บอนมากขึ้น ก็สามารถจัดโครงสร้างของโมเลกุลได้หลายแบบ ถ้าแต่ละแบบมีสูตรโมเลกุลเหมือนกัน แต่สูตรโครงสร้างต่างกันก็เรียกว่า ไอโซเมอร์
          การเปลี่ยนโครงสร้างจากโซ่กิ่ง  การเปลี่ยนตำแหน่งพันธะคู่ระหว่างคาร์บอนก็ทำให้เกิด โครงสร้างใหม่เพิ่มขึ้น  ซึ่งต่างก็เป็นไอโซเมอร์







สมบัติบางประการของไอโซเมอร์
          พิจารณาสมบัติบางประการของ CH3 - CH2 - CH2 - CH3 กับ (CH3)2CHCH3  ซึ่งเป็นไอโซเมอร์กัน มีสูตรโมเลกุลเป็น  C4H10  เหมือนกันดังนี้

ตารางที่ 10.7 สมบัติบางประการของสารที่มีสูตรโมเลกุลเป็น  C4H10

สูตรโครงสร้าง
จุดหลอมเหลว
 (0C)
 จุดเดือด
(0C)
ความหนาแน่นที่
20 0C (g/cm3)
CH3 - CH2 - CH2 - CH3
-138.4
-0.5
0.578
-159.6
-11.7
0.549

          จะเห็นได้ว่าไอโซเมอร์แต่ละชนิดมีสมบัติบางประการ เช่น มีจุดหลอมเหลว จุดเดือดและความหนาแน่นต่างกัน ดังนั้นต้องถือว่าเป็นสารต่างชนิดกัน การที่สารอินทรีย์เกิดไอโซเมอร์ได้ จึงทำให้มีสารประกอบของคาร์บอนจำนวนมาก
          ตัวอย่างเช่น C4H10 , C5H12 , และ  C6H14 มีจำนวนไอโซเมอร์เป็น 2 , 3 และ 5  ตามลำดับ

สมบัติของสารประกอบไฮโดรคาร์บอน
          สมบัติทั่วๆ ไปของสารประกอบไฮโดรคาร์บอน อาจจะสรุปได้เป็นข้อ ๆ ดังนี้
1. เป็นโมเลกุลโคเวเลนต์ไม่มีขั้ว มีทั้งสถานะของแข็ง ของเหลวและก๊าซ
2. ไม่ละลายน้ำหรือละลายน้ำได้น้อยมาก เนื่องจากเป็นโมเลกุลไม่มีขั้ว นอกจากนี้ยังมีความหนาแน่นน้อยกว่าน้ำ
3. ละลายได้ดีในตัวทำละลายที่ไม่มีขั้วโดยเฉพาะตัวทำละลายอินทรีย์เช่นเบนซีนและโทลูอีน
4. มีจุดหลอมเหลวและจุดเดือดค่อนข้างต่ำเมื่อเทียบกับสารอื่น ๆ ที่มีมวลโมเลกุลใกล้เคียงกัน
เนื่องจากเป็นโมเลกุลไม่มีขั้วจึงมีแรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุลเพียงชนิดเดียวคือ แรงแวนเดอร์วาลส์ ซึ่งเป็นแรงที่อ่อนมาก จึงทำให้จุดเดือดและจุดหลอมเหลวต่ำ แต่อย่างไรก็ตามเนื่องจากแรงแวนเดอร์วาลส์แปรผันตามมวลโมเลกุล ดังนั้นสารประกอบไฮโดรคาร์บอนอนุกรมเดียวกันเมื่อคาร์บอนเพิ่มขึ้น (มวลโมเลกุลเพิ่มขึ้นจุดเดือดและจุดหลอมเหลวจึงเพิ่มขึ้น
5. ไม่นำไฟฟ้าในทุกสถานะ
6. เกิดปฏิกิริยาเผาไหม้ได้ง่าย จัดเป็นประเภทคายความร้อน ถ้าการเผาไหม้สมบูรณ์จะได้ CO2 และ H2O  โดยไม่มีเขม่า  แต่ถ้าการเผาไหม้ไม่สมบูรณ์จะเกิดเขม่า
7. ในการเกิดปฏิกิริยาเคมี พวกสารประกอบไฮโดรคาร์บอนอิ่มตัวจะเกิดปฏิกิริยาแทนที่ พวกไม่อิ่มตัวจะเกิดปฏิกิริยาการเติม

การเผาไหม้ของสารประกอบไฮโดรคาร์บอน
          สารประกอบไฮโดรคาร์บอนเป็นสารอินทรีย์ที่ติดไฟง่าย บางชนิดติดไฟแล้วให้เปลวไฟสว่างไม่มีควัน และไม่มีเขม่า บางชนิดก็ติดไฟแล้วให้เปลวไฟสว่างพร้อมกับมีควันหรือเขม่า พวกที่ติดไฟแล้วไม่มีเขม่าเรียกว่าเกิดการเผาไหม้อย่างสมบูรณ์ ได้ผลิตภัณฑ์เป็น CO2 และ H2พวกนี้ได้แก่การเผาไหม้ของสารประกอบไฮโดรคาร์บอนอิ่มตัว เช่น แอลเคน และไซโคลแอลเคน สำหรับพวกที่ติดไฟแล้วเกิดเขม่าเรียกว่ามีการเผาไหม้ที่ไม่สมบูรณ์นอกจากจะได้ CO2 และ H2แล้วยังได้ CO  และ  ด้วย พวกนี้ได้แก่การเผาไหม้ของสารประกอบไฮโดรคาร์บอนที่ไม่อิ่มตัว เช่น แอลคีน ไซโคลอัลคีน แอลไคน์ และอะโรมาติกไฮโดรคาร์บอน ยิ่งสารนั้นไม่อิ่มตัวมากเท่าใด จะยิ่งมีเขม่ามากขึ้นเท่านั้น ดังนั้นพวกไฮโดรคาร์บอนที่โมเลกุลมีพันธะคู่มีเขม่าน้อยกว่าพวกที่มีพันธะสามและพวกที่มีพวกสามจะน้อยกว่าพวกอะโรมาติกไฮโดรคาร์บอน
          ปริมาณของเขม่าเมื่อเผาไหม้     พันธะคู่ <  พันธะสาม  <  อะโรมาติก
          เช่นปริมาณเขม่าจากการเผา     CH2 = CH2   <  CH CH

          นอกจากจะพิจารณาการเกิดเขม่าขากชนิดของพันธะแล้ว ยังอาจจะพิจารณาได้จากอัตราส่วนของ C : H ในโมเลกุลได้อีกด้วย สารที่มีอัตราส่วน C : H น้อย จะมีเขม่าน้อย สารที่มีอัตราส่วน C : H  มาก จะมีเขม่ามาก

          แอลเคน           =         เช่น   C6H14  มี     =  
          แอลคีน            =         เช่น   C6H14  มี     =  
          แอลไคน์มี         =         เช่น   C6H10  มี     =  

          อะโรมาติกไฮโดรคาร์บอน เช่น เบนซีน (C6H6มี  =  
          จะเห็นได้ว่าแอลเคนมี  C : H น้อย  เมื่อเผาไฟจะไม่เกิดเขม่า แต่อัลคีน แอลไคน์ และอะโรมาติกไฮโดรคาร์บอน มี C : H มาก เมื่อเผาไฟจึงเกิดเขม่า
          อะโรมาติกไฮโดรคาร์บอน มี C : H มากที่สุด เมื่อเผาไฟจะเกิดเขม่ามากที่สุด
          อย่างไรก็ตามการเผาไหม้ที่กล่าวถึงนี้หมายถึงการเผาไหม้ในภาวะปกติ ที่อุณหภูมิและความดันห้องหรือเผาในที่ ๆ มี O2 จำนวนจำกัด ซึ่งการเผาสารประกอบไม่อิ่มตัวจะเกิดเขม่าเนื่องจากการเผาไหม้เกิดไม่สมบูรณ์แต่ถ้านำสารไม่อิ่มตัวเหล่านี้ไปเผาในบริเวณที่มีปริมาณ O2 จำนวนมากเกินพอจะเกิดการเผาไหม้อย่างสมบูรณ์และไม่มีเขม่า
          ในกรณีที่การเผาไหม้ของสารประกอบไฮโดรคาร์บอนเกิดขึ้นอย่างสมบูรณ์ สามารถเขียนสมการทั่วๆ ไปได้ดังนี้
                   CxHy  +  ( x + )O2  ®  xCO2  +  H2O

                   CxHy  คือ ไฮโดรคาร์บอน  เช่น
          การเผาไหม้ของแอลเคน      
                   C5H12 + 8O2  ® 5CO2  + 6H2O
                   C5H16 + 11O2  ® 7CO2  + 8H2O
          การเผาไหม้ของแอลคีน
                   C4H8 + 6O2  ® 4CO2  + 4H2O
                   C6H12 + 9O2  ® 6CO2  + 6H2O
          การเผาไหม้ของแอลไคน์
                   C3H4 + 4O2  ® 3CO2  + 2H2O
                   C5H8 + 7O2  ® 5CO2  + 4H2O
          การเผาไหม้ของอะโรมาติก
                   C7H8 + 9O2  ® 7CO2  + 4H2O
                   C6H6 + 15/2O2  ® 6CO2  + 3H2O